Lifestyle

แนะนำเรื่อง 'โซล่าเซลล์' คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้างที่ควรรู้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อช่วงงปีที่ผ่านมา กระแสการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ถือว่ามีการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรม กิจการห้องพัก สำนักงาน หรือแม้กระทั่งปั้มน้ำมัน ที่หันมาใส่ใจ ในเรื่องพลังงานสะอาด

เมื่อช่วงงปีที่ผ่านมา กระแสการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ถือว่ามีการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากภาคประชาชน และภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรม กิจการห้องพัก สำนักงาน หรือแม้กระทั่งปั้มน้ำมัน ที่หันมาใส่ใจ ในเรื่องพลังงานสะอาด ที่ช่วยลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้าให้ถูกลง อย่างคุ้มค่า 50-70% สำหรับในปีที่ผ่านมา ใครยังไม่ได้ตัดสินใจ  สามารถดูข้อมูลอัพเดท ในบทความนี้ เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 

Solar Cell หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell)

 

ทำความรู้จักระบบโซล่าเซลล์คืออะไร?

Solar Cell หรือ ที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบวัตถุ ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ Solar Cell จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง +/- ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที ซึ่งพลังงานที่ได้นั้น จะพลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษ และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะมากๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำให้เกิดก๊าชเรือนกระจก

 

โซล่าเซลล์ มีหลักการทำงานอย่างไร?

โซล่าเซลล์ มีหลักการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยการทำงานผ่านแผงโฟโตโวลตาอิก คือ การปล่อยให้แสงอาทิตย์ ลงมาตกกระทบที่แผง จากนั้นและเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า โดยอาศัยคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ข้อ ดังนี้


1. ใช้แผงโซล่าเซลล์ ในการดูดซึมของแสง เพื่อสร้างคู่อิเล็กตรอน-โฮล หรือ เอ็กซิตอน


2. เมื่อเกิดการเคลื่อนไหว ไปรวมตัวกันที่ Front Electrode และ โฮล ก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Black Electrode


3. เชื่อมต่อระบบจนครบวงจร จะเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง และถูกเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดย Inverter จนกลายเป็นไฟฟ้าที่สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตามปกติ
 

 

ข้อดีและข้อเสียของโซล่าโซลล์ที่ควรรู้?


ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์


1. พลังงานไฟฟ้า ที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้ แบบไม่มีวันหมด


2. ระบบโซล่าเซลล์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ จากทุกที่ที่แสงแดดส่องถึง


3. พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ คือ พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เหมือนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานอื่น


4. พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้ไฟ จากการไฟฟ้ามากกว่า 50% 


5. พลังงานไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ มีความปลอดภัยสูง เพราะต้องผ่านการขออนุญาตจากภาครัฐ 3 หน่วยงาน


6. ใช้พื้นที่หลังคา หรือพื้นที่ดาดฟ้า ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้กลายเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า
 

 

ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์


1. ระบบโซล่าเซลล์ ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ในปริมาณที่มีความแน่นอน เพราะต้องขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ของแต่ละวัน


2. พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ไม่ได้มีกำลังการผลิตที่สูง ดังนั้น หากต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ต้องเพิ่มจำนวนของแผงให้เหมาะสม กับขนาดที่ต้องการใช้ไฟฟ้า


3. ระบบโซล่าเซลล์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น หากห้องการเก็บสะสมไว้ใช้ ในเวลากลางคืน จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟ


4. ในบางพื้นที่ของการติดตั้ง อาจจะไม่คุ้มค่า จำเป็นต้องคำนวณให้ดี ก่อนดำเนินการติดตั้ง เพื่อความคุ้มค่า
 

 

Solar Cell หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell)

 

การใช้ไฟฟ้าแบบไหนควรคิดตั้งโซล่าเซลล์


การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง ในช่วงเวลากลางวัน ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับกลุ่มของผู้ที่มีการใช้งานไฟฟ้ามาก ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ เช่น บ้านพักอาศัย ที่มีพ่อแม่อยู่บ้านในช่วงกลางวัน ต้องมีการเปิดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ บ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง คนที่ต้องทำงานแบบ Work from home 
นอกจากนี้ อาคารสำนักงาน ออฟฟิศโฮม ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม หรือ บริษัท ที่มีการใช้ไฟในเวลากลางวัน และมีค่าไฟอย่างน้อย 3,000 บาทขึ้นไป รวมถึง บ้านที่มีพื้นที่หลังคาสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพียงพอ และเหมาะสม
 

Solar Cell หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell)

 

โซล่าเซลล์มีกี่ระบบอะไรบ้าง?


ปัจจุบัน การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก ซึ่งมีข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนี้ 


1. ระบบออนกริด (On Grid) 


เป็นระบบโซลาร์เซลล์ ที่ใช้ไฟฟ้า 2 ทาง คือ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากแผงโซลาร์เซลล์ โดยผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน แล้วนำมาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟ และในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ จะดึงพลังงานจากการไฟฟ้ามาใช้งาน เหมาะกับบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้า ในช่วงเวลากลางวัน นอกจากนี้ ระบบออนกริด (On Grid) จะต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า และสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ (สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส ขนาดไม่เกิน 5 Kwp. และระบบไฟฟ้า 3 เฟส ขนาดไม่เกิน 10 Kwp.) เป็นระบบที่นิยมมากที่สุด และคืนทุนเร็วที่สุด 

 

ข้อดีของระบบออนกริด (On Grid) 


ช่วยให้ประหยัดค่าใช้ไฟ ในเวลากลางวันได้มากกว่า 50% และ สามารถมีรายได้ จากการขายไฟคืนการไฟฟ้า จึงเป็นระบบที่คืนทุนได้ไวที่สุด


ข้อจำกัดของระบบออนกริด (On Grid) 


- ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ในตอนกลางคืนได้ เนื่องจาก ไม่มีแบตเตอรี่สำรองไฟ ทำให้ในช่วงเวลากลางคืน ต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้าตามปกติ

 

 

2. ระบบออฟกริด (Off Grid) 


เป็นระบบโซล่าเซลล์แบบ 100% (Stand Alone) โดยไม่ส่วนที่เชื่อมต่อ กับการไฟฟ้า โดยระบบโซล่าเซลล์ จะทำการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง ในช่วงเวลากลางวัน และส่วนที่เหลือ จะถูกส่งไปยังแบตเตอรี่ เพื่อสำรองไฟไว้ใช้ ในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล หรือ สถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น พื้นที่สวนยาง ไร่นา และบนดอยสูง


ข้อดีของระบบออฟกริด (Off Grid) 
ไม่ต้องดำเนินการขออนุญาต กับการไฟฟ้า และหน่วยงานต่างๆ ให้ยุ่งยาก


ข้อจำกัดของระบบออฟกริด (Off Grid) 
ต้องใช้แบตเตอรี่ เพื่อสำรองไฟ และมีไฟใช้กลางคืน ซึ่งอาจมี ต้นทุนที่สูง และหากวันไหน ที่มีแสงแดดน้อย อาจผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ


3. ระบบไฮบริด (Hybrid) 


เป็นระบบที่มีการผสมระหว่างระบบ Off Grid กับ On Grid  โดยมีการใช้ไฟ ทั้งที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ และ ระบบโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าการใช้งานไฟ จะถูกส่งไปสำรองไว้ที่แบตเตอรี่ จากนั้น จะถูกดึงมาใช้ ในช่วงเวลากลางคืน และหากไม่เพียงพอ ระบบก็จะดึงพลังงานจากการไฟฟ้า เหมาะสำหรับการใช้ไฟ ทั้งกลางวัน และกลางคืน หรือช่วงที่ไฟตก แต่ระบบไฮบริด ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจาก แบตเตอรี่ที่มีมาตรฐาน มีราคาที่สูง และ ไม่สามารถขายไฟ คืนให้การไฟฟ้าได้ ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนนาน


ข้อดีของระบบไฮบริด (Hybrid) 


สามารถใช้ไฟได้ทุกช่วงเวลา ทั้งช่วงที่มีไฟตก ไฟดับ และ สามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรี ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน


ข้อจำกัดของระบบไฮบริด (Hybrid) 


แบตเตอรี่มีราคาสูง และ ไม่สามารถขายไฟคืนการไฟฟ้าไม่ได้ จึงทำให้มีระยะเวลาคืนทุนที่นาน
 

Solar Cell หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell)

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ