Lifestyle

โซลูชันปั้น "เมืองแห่งอนาคต" ตั้งรับวิกฤต การเปลี่ยนแปลงผ่าน 5 แนวคิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ระดมสมองสร้าง "เมืองแห่งอนาคต" รับวิกฤตความเปลี่ยน เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ ตั้งรับทุกการเปลี่ยนแปลงโซลูชันปั้นเมืองที่ยั่งยืน

ปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตสิ่งแวดล้อมกำลังถาโถมสู่อารยธรรมมนุษย์ โดยเฉพาะกับมหานครและ เมืองใหญ่ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งกำลังประสบกับภาวะ วิกฤตสิ่งแวดล้อม และ ภัยธรรมชาติ ต่าง ๆ รวมถึงมลภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยและพัฒนาเมืองในหลาย ๆ ด้านทั้งปัญหาน้ำท่วม ฝุ่นควัน ในขณะที่เมืองใหญ่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับวิกฤตที่ร้ายแรงไม่แพ้กัน วิกฤตเหล่านี้กระตุ้นให้เราทุกคนต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่ระดับกายภาพ แต่เป็นการสร้าง "เมืองแห่งอนาคต" และ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อใช้ชีวิตที่มีความยืดหยุ่นในสังคมเมืองแบบ Resilient City เพื่อให้สามารถรับมือ ปรับตัว ของสังคมได้อย่างรวดเร็ว 

นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า  MQDC เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ของเมือง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้คนในสังคมที่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นในการดำรงชีพ จึงต้องการนำเสนอแนวทางการพัฒนา "เมืองแห่งอนาคต" และวิธีการรับมือกับวิกฤตทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการจัดเสวนาระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการออกแบบเมือง นวัตกร ทีมนักวิจัยและวิเคราะห์เมือง รวมถึงผู้สนใจด้านการพัฒนาเมืองและคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยกันกำหนดองค์ประกอบและทิศทางของ เมืองแห่งอนาคต ไปสู่เมืองพลวัตร (Resilient City) ที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ 

เมืองน่าอยู่

โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการเพื่อสร้าง "เมืองแห่งอนาคต" ที่อยู่อาศัยและสังคมเปี่ยมสุขให้ทุกผู้คนและทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น MQDC จึงจัดตั้งศูนย์วิจัยเอกชนสามแห่งแรกของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้แก่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center: RISC) ที่มุ่งเน้นการทำงานวิจัยและบูรณาการหลายศาสตร์ เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขของทุกสรรพสิ่ง (For All Well-Being) ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ RISC 5 Research Hubs ได้แก่

-Plants & Biodiversity: ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
-Air Quality: ศึกษาปัจจัยในการสร้างคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร
-Happiness Science: ศึกษาการทำงานของสมองเพื่อสร้างความสุขด้วยวิทยาศาสตร์
-Materials & Resources: ศึกษาวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาวะ
-Resilience: ศึกษาด้านความเสี่ยงและภัยพิบัติในสภาพแวดล้อมเพื่อวางแผนรับมือ
 

เมืองน่าอยู่

"แนวคิด ดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครฯ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ การบริหารเมือง การออกแบบและโครงสร้างของเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางกรุงเทพมหานคร รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้จากทีมนักวิจัย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเมืองในอีกหลายปีข้างหน้า และสามารถนำองค์ความรู้เชิงปฏิบัติที่ MQDC ได้ศึกษามา ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตในปัจจุบันได้อย่างเป็นรูปธรรม" นายวิสิษฐ์ กล่าวสรุป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ