
เช็คเลยอาการแบบนี้เสี่ยงเป็น "ลำไส้อักเสบ" หรือเปล่านะ?
จู่ๆปวดเกร็งบริเวณท้อง มีอาการอื่นๆแทรกร่วมด้วย เช็คเลยอาการไหนเสี่ยงเป็น "ลำไส้อักเสบ" หากปล่อยทิ้งไว้อาการของโรครุนแรง อาจจะต้องถูกตัดลำไส้บริเวณที่อักเสบออก
ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง ทำให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร และทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดท้อง แต่หลายคนอาจจะมองว่าโรคนี้เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง เพราะคิดว่าแค่กินยาก็หายเองได้ แต่หากเป็นซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งอาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่อันตรายถึงชีวิตได้ และยังมีอีกหลายคนที่มีความสงสัยว่าการรับประทานกล้วยสามารถรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังได้
อาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง เนื่องจากลำไส้บีบตัว
- อาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหัน ถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง
- อาจมีมูก หรือเลือดปนมากับอุจจาระในบางรายอาจมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยได้
- คลื่นไส้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
- นอกจากอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น
สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อมีสารพิษปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป ภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมอาจกลับมาทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายแทน ทำให้รักษายากและใช้เวลานาน ทำให้เกิดอาการลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังในที่สุด
การป้องกันลำไส้อักเสบ
โรคนี้สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพราะเป็นโรคที่เกิดกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง หากเราสามารถดูแลเรื่องสุขอนามัยในการรับประทานอาหารจะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้
- ไม่ควรรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ ควรทานเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 หรือ 6 มื้อ และควรดูแลความสะอาดของอาหารอยู่เสมอ
- ปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำ โดยดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอใน 1 วัน งดการดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเพราะส่งผลให้ลำไส้ทำงานมากขึ้น
- ควรดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร รวมถึงควรตรวจดูภาชนะที่ใส่อาหารว่าสะอาดหรือไม่
การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โดยทั่วไปโรคลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลันมักสามารถหายเองได้เพียงแต่ต้องมีการให้น้ำเกลือเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียจากภาวะขาดน้ำ แต่หากผู้ป่วยมีอาการท้องเสียรุนแรงมากหรือมีไข้สูงอาจต้องให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ท้องเสียอย่างยาโลเพอราไมด์ แต่หากแพทย์พบว่าสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียก็อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อและควบคุมการติดเชื้อ หากอาการของโรครุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา แพทย์จะผ่าตัดลำไส้บริเวณที่อักเสบออก