ไลฟ์สไตล์

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต มีผลต่อการปัสสาวะ

10 ก.ย. 2567

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต เหตุความหวาน นมแคลเซียมสูง และสารในใบชา มีผลต่อการปัสสาวะ ดื่มชานม น้ำชงทุกวัน อาจจะเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกโรงเตือนผู้ที่ชื่นชอบ ดื่มชานม น้ำชงทุกวัน อาจจะเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต ดื่มชานมหวานทุกวัน ระวัง! เสี่ยงเป็นนิ่วในไต ชานมเย็น หวานๆ แก้วโปรดที่ใครหลายคนติดใจ อาจไม่ใช่แค่ตัวการทำให้น้ำหนักพุ่งปรี๊ดอย่างเดียว แต่มันยังแอบแฝงอันตรายที่น่ากลัว นั่นก็คือ “นิ่วในไต”

 

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต มีผลต่อการปัสสาวะ

 

 รู้จัก “นิ่วในไต” 

นิ่วในไต เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุแข็งชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียมออกซาเลต และบางครั้งอาจเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ยูริก เป็นต้น จนกลายเป็นก้อนที่มีชนิด และขนาดแตกต่างกัน โดยมักพบที่บริเวณกรวยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นผลมาจากปัสสาวะเข้มข้นและตกตะกอนจนกลายเป็นก้อนนิ่วขึ้นมา ซึ่งมีโอกาสเป็นซ้ำได้ และแม้จะเกิดขึ้นในไต แต่ก้อนนิ่วก็มีโอกาสหลุดลงมาในท่อไตจนถึงบริเวณกระเพาะปัสสาวะได้ เกิดการ ตกผลึกของแร่ธาตุต่าง ๆ ในปัสสาวะ จนรวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง ๆ มีขนาดตั้งแต่เม็ดทรายยันลูกปิงปอง! ซึ่งเจ้าก้อนนิ่วเนี่ยแหละ ตัวแสบเลย มันจะไปอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้อั้นฉี่ไม่ได้ ปวดท้องรุนแรง บางรายถึงขั้นไตวายได้เลย 

 

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต มีผลต่อการปัสสาวะ

 

 

 

 

 

 

           

  

ชานมหวาน ตัวร้ายทำลายไต ในชานมหวาน นอกจากจะมีน้ำตาลมหาศาล ยังมีสารอาหารบางอย่าง ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดนิ่วในไต ได้แก่ น้ำตาลฟรุคโตส ฟรุคโตสจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ไตทำงานหนัก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว แคลเซียม ชานมบางชนิดมีส่วนผสมของนม ซึ่งมีแคลเซียมสูง แคลเซียมส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และอาจตกผลึกเป็นนิ่วได้ ออกซาเลต สารนี้พบได้ในใบชา ออกซาเลตจะจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็นนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด

 

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต มีผลต่อการปัสสาวะ

 

 

 

ดื่มชานมยังไง ไม่ให้นิ่วถามหา ?

  • ลดหวาน! สั่งแบบหวานน้อย หรือไม่ใส่น้ำตาลเลยยิ่งดี
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ น้ำเปล่าช่วยเจือจางปัสสาวะ ลดการตกผลึกของแร่ธาตุ
  • เลือกนมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลือง ช่วยลดปริมาณแคลเซียม
  • ทานผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว

               

นิ่วในไตมักไม่มีอาการแสดง

มีอาการแสดงก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน หรือก้อนนิ่วไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการ ดังนี้ ปวดหลังหรือช่องท้องส่วนล่างข้างใดข้างหนึ่ง โดยจะปวดเสียด ปวดบิดเป็นพักๆ คล้ายปวดท้องประจำเดือน แต่อาจปวดนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน

  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือบางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็กๆ หรือมีเม็ดทรายปนออกมากับปัสสาวะด้วย
  • เมื่อกดบริเวณที่ปวดจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือบางครั้งก็อาจรู้สึกสบายขึ้น
  • ถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไตจะมีอาการปวดในท้องรุนแรง
  • หากมีอาการหนัก จะปวดท้องพร้อมกับมีไข้สูง แม้จะรับประทานยาบรรเทาปวดแล้วก็ยังไม่หาย

เราสามารถดื่มชานมเย็นได้ แต่ต้องดื่มอย่างพอประมาณ เลือกแบบหวานน้อย และอย่าลืมดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆรักตัวเองห่วงใยสุขภาพ แล้วเราจะดื่มด่ำความอร่อยของชานมเย็นได้อย่างสบายใจ  รักตัวเอง ห่างไกลนิ่ว ด้วยการดื่มชานมอย่างพอดี

 

 

สายหวานชอบดื่มน้ำชง เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต มีผลต่อการปัสสาวะ