ไลฟ์สไตล์

กินยาต้องรู้! อาการแพ้ยา หากรุนแรงมากทำให้พิการถึงแก่ชีวิตได้

10 ก.ย. 2567

"หลังกินยาแล้วมีผื่นขึ้น  มีตาบวม ปากบวมหลังกินยา" อาการเหล่านี้ บ่งบอกว่าจะเกิดอาจแพ้ยา กินยาต้องรู้! อันตรายจากการแพ้ยา มีชนิดที่ไม่รุนแรง และชนิดที่รุนแรงก่อให้เกิดความพิการ หรือถ้ารุนแรงมากอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

จากกรณีมีสองสาวผู้เสียหายแพ้ยาฉีดรักษาโรค รพ.เอกชน 2 แห่ง กระทบการมองเห็น มีผื่นแพ้ผิวหนัง ซึ่งจริงๆแล้วอาการ อันตรายจากการแพ้ยา มีได้หลายแบบทั้งชนิด  แพ้ยา (Drug allergy) คือปฏิกริยาตอบสนองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการกิน ฉีด ทา และดม คล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาการแพ้ยาไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่แสดงอาการคล้ายคลึงกับโรคภูมิแพ้ โดยที่การแพ้ยาไม่จำเป็นต้องแสดงอาการตั้งแต่ครั้งแรก อาจมีอาการแพ้หลังใช้ยาในอนาคตได้ 

 

แบ่งอาการไม่พึงประสงค์จากยาเป็น 2 รูปแบบได้แก่

  • อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ทำให้คาดเดาการเกิดอาการได้ อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ เช่น อาการง่วงนอนจากยาแก้แพ้ อาการตับเสบจากยารักษาวัณโรค
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากกลไกอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น ระบบภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาต่อต้านยา ทำให้ไม่สามารถคาดเดาการเกิดอาการได้ อาการไม่พึงประสงค์ชนิดนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ อาการที่เกิด ได้แก่ ผื่นลมพิษ หรือ แพ้ยารุนแรงที่อันตรายถึงชีวิต (anaphylaxis)เป็นต้น

 

กินยาต้องรู้! อาการแพ้ยา หากรุนแรงมากทำให้พิการถึงแก่ชีวิตได้

 

อาการของการแพ้ยา

โดยการแพ้ยาส่วนมากมักเกิดภายหลังการรับประทานยาในช่วง 7-21 วันหลังเริ่มทานยาครั้งแรก แต่ถ้าเคยได้รับยาชนิดนั้นๆ ที่แพ้มาก่อนแล้วอาจมีอาการได้รวดเร็วในเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังทานยาได้ สำหรับกลุ่มลมพิษหรือมีปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน (Anaphylaxis) อาการจะแสดงได้อย่างรวดเร็วหลังทานยาในเวลาเป็นนาทีถึงชั่วโมง ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสแพ้ยาได้มากขึ้น ได้แก่ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ เพศ ซึ่งมักพบการแพ้ยาในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คนไข้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และคนที่มีประวัติเคยแพ้ยามาก่อน

 

ชนิดยาที่มักทำให้เกิดอาการแพ้

ยาที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ Penicillin, Cephalosporin กลุ่มยารักษาโรคเกาต์ ชนิดที่พบบ่อยเป็น Allopurinol กลุ่มยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenobarbital เป็นต้น นอกจากนี้ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด กลุ่มยารักษาวัณโรค เป็นต้น

 

กินยาต้องรู้! อาการแพ้ยา หากรุนแรงมากทำให้พิการถึงแก่ชีวิตได้

 

 

หากมีอาการแพ้ยา ควรทำอย่างไร?

  • หยุดยาและรีบพบแพทย์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน
  • ควรนำยาที่ตนเองได้รับติดตัวไปด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณา
  • ควรถ่ายภาพความผิดปกติของตนเองที่เกิดขึ้นเก็บไว้ เพื่อให้แพทย์พิจารณาประกอบ เช่น ภาพผื่น เพราะผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไป
  • หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน และการซื้อยาแก้แพ้กินเอง
  • หากมีประวัติแพ้ยาควรจดจำชื่อยาที่ตนเองแพ้ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

 

กินยาต้องรู้! อาการแพ้ยา หากรุนแรงมากทำให้พิการถึงแก่ชีวิตได้

 

สำหรับอาการทางร่างกายอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วยในคนที่แพ้ยารุนแรง ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น ดังนั้น ในกรณีที่คนไข้ได้รับประทานยาแล้วมีอาการดังกล่าวข้างต้นที่ทำให้สงสัยว่าอาจจะเป็นการแพ้ยาที่รุนแรง ควรหยุดยาในทันที รีบมาพบแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาอย่างรวดเร็ว และควรนำยาที่สงสัยว่าจะแพ้มาให้แพทย์ดูร่วมด้วย ซึ่งโดยส่วนมากถ้าอาการเข้าได้กับการแพ้ยาที่รุนแรงมักจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้นต่อไป  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หากว่าเคยแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วนั้นจะแพ้ยาชนิดดังกล่าวไปตลอดชีวิต รวมถึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้ยาตัวอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือกลุ่มที่ใกล้เคียงกับยาตัวเดิมที่แพ้ได้ และการได้รับยาที่เคยแพ้อยู่แล้วในครั้งถัดไป อาการที่เกิดจากการแพ้ยาในครั้งใหม่จะเกิดได้อย่างรวดเร็วขึ้นและอาจรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังนั้น ควรจดจำข้อมูลการแพ้ยาของตนเอง หรือเก็บบัตรแพ้ยาไว้กับตัวเสมอ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนการรักษาในครั้งถัดๆ ไป และระมัดระวังเรื่องการซื้อยาเพื่อรับประทานเอง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้นใหม่ได้

 

กินยาต้องรู้! อาการแพ้ยา หากรุนแรงมากทำให้พิการถึงแก่ชีวิตได้