นอนนานตอนกลางวัน เร่งสมองเสื่อมได้ เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์
โรคสมองเสื่อม สัมพันธ์กับการนอนนานในช่วงกลางวัน คนที่นอนยาก ตื่นบ่อย ปลุกยาก จะเกี่ยวพันกับ โรคสมองเสื่อม ยิ่งนอนกลางวันนาน ยิ่งเร่งสมองเสื่อม เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้
ภายในเวลาอีกไม่ถึง 30 ปี สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณ สวนทางกับประชากรในวัยทำงานที่จำนวนมีไม่เพียงพอจะดูแลผู้สูงอายุ อีกทั้งโรคมากมายที่มาพร้อมกับความชรา ทั้งโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคที่สำคัญ คือ โรคสมองเสื่อม ที่คาดกันว่า ในเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีประชากรหลายล้านคนที่มี ภาวะสมองเสื่อม อย่างชัดเจน
โรคสมองเสื่อม ไม่ใช่ภาวะปกติที่ทุกคนต้องเป็นตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายแก่ชรา แต่เป็นโรคที่ป้องกันได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์กว่าสองในสาม โรคเหล่านี้ก่อตัวในสมองตั้งแต่ช่วงที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม ใช้เวลาพัฒนามากกว่า 15 ปี
โรคสมองเสื่อม จะใช้เวลาบ่มเพาะ 15-17 ปี ก่อนที่ร่างกายจะส่งสัญญาณแรกออกมา ผู้ป่วย โรคสมองเสื่อม จะเริ่มด้วยจำเรื่องที่ทำลงไปไม่ได้ เริ่มจำสิ่งที่พูดออกไปไม่ได้ นอกจากนั้น การนอนและการหลับตื่นที่แปรปรวนผิดปกตินั้น ยังพบว่า เป็นปรากฏการณ์ร่วมในโรคสมองเสื่อม ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละชนิด แต่ชัดเจนในสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ และเป็นความผิดปกติของกลุ่มเซลล์ประสาทที่กระตุ้นให้ตื่น โดยโปรตีนพิษ ทาว เป็นตัวก่อเหตุ
นอนนานตอนกลางวัน เร่งสมองเสื่อมได้
กลไกของการควบคุมการตื่นและหลับในร่างกาย เหมือนเป็นการเปิดปิดสวิตช์ โดยกลุ่มเซลล์สมองที่กระตุ้นให้ตื่นหรือเปิดสวิตช์ โรคสมองเสื่อม สัมพันธ์กับการนอนนานในช่วงกลางวัน คนปกติจะงีบหลับกลางวันโดยเฉลี่ย 11 นาที คนที่นอนยาก ตื่นบ่อย ปลุกยาก จะเกี่ยวพันกับ โรคสมองเสื่อม พบว่า เมื่อถึงระดับสมองเสื่อมแล้ว ร่างกายจะงีบหลับกลางวันนานถึง 69 นาทีต่อวัน หากงีบหลับมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงพัฒนาเป็น โรคสมองเสื่อม มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ชายสูงอายุที่งีบหลับกลางวัน 2 ชั่วโมง จะมีสติปัญญาเสื่อมถอยมากกว่าคนที่งีบน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน การดูแลสุขภาพนอนให้ดี ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นประจำ หมั่นออกกำลังกาย จะเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อป้องกัน ภาวะสมองเสื่อม ได้ดี