ไขมันช่องท้อง หรือ visceral fat คือ ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายเนื่องจากเผาผลาญไม่หมด ทำให้ไขมันไปเกาะอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะในช่องท้อง ทำให้มีลักษณะลงพุง ย้วย ย้อย ซึ่งถือเป็นจุดที่อันตราย เนื่องจากไขมันช่องท้องเหล่านี้ จะขัดขวางทางเดินของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกาย และเป็นตัวก่อโรคต่างๆ
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นไขมัน รวมไปถึงคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเป็นปริมาณมากเกินไป ทำให้ร่างกายเผาผลาญไม่หมด สุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นไขมัน เกิดการสะสมและแทรกซึมอยู่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการไม่ออกกำลังกาย สาเหตุที่ร่างกายเผาผลาญไขมันไม่หมด เนื่องมาจากชีวิตประวันที่ไม่ค่อยมีการขยับ หรือเคลือนไหวร่างกายน้อย ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ใช้พลังงานน้อย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็ยังพบภาวะไขมันช่องท้องได้ครับ
การวัดค่าไขมันในช่องท้อง
หากอยากทราบว่าตอนนี้มีไขมันในช่องท้องมากน้อยแค่ไหน เบื้องต้นสามารถวัดด้วยตัวเองได้ เรียกว่า Waist-to-Hip Ratio Measurement โดยการใช้สายวัดสัดส่วน เป็นวิธีที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับ
วิธีวัด วัดรอบเอว โดยใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร วัดรอบสะโพก โดยใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร นำตัวเลขรอบเอว มาหารด้วยตัวเลขรอบสะโพก จะได้ทศนิยม 2 หลัก ตัวอย่าง : รอบเอว 74 ÷ 90 = 0.88
สำหรับไขมันในช่องท้องค่าปกติ ของผู้หญิงและผู้ชายจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยครับ ผู้หญิง ที่ได้ค่ามากกว่า 0.80 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ ผู้ชาย ที่ได้ค่ามากกว่า 0.95 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ
10 โรคเรื้อรังจาการมีไขมันช่องท้อง (Visceral Fat)
- โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดจากการที่ไขมันกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
- โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายกระตุ้นการสร้างไขมันเลว หรือ คอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
- โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง จึงนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
- โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
- โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีไขมันไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้สมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เกิดอาการสมองฝ่อตัว
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการที่ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดแล้วไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
- ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดที่ทำให้ร่างกายเกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
- ภาวะไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล และยังสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อีกด้วย
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ในการรักษาหากมีไขมันในช่องท้องเยอะจนก่ออันตรายต่อสุขภาพ สามารถวัดไขมันในเลือด (วัด Total cholesterol, Triglycerides, HDL-c, LDL-c) เพื่อเช็คระดับไขมัน คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และวางแผนการรักษากับแพทย์ อาจมีการให้ยาลดไขมัน เพื่อลดไขมันในเลือดที่ผิดปกติ นอกจากนี้ ยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการกินคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ลดแป้งแปรรูป รวมไปถึงการออกกำลังกาย ขยับตัวระหว่างวัน งดดื่มแอลกอฮอล์และพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง