ไลฟ์สไตล์

ไขข้อสงสัย? ยิ่งอายุมากขึ้น ทำไมถึงตื่นเช้า นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม

ไขข้อสงสัย? ยิ่งอายุมากขึ้น ทำไมถึงตื่นเช้า นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม

30 มิ.ย. 2567

ไขข้อสังสัย? ว่าทำไมยิ่งอายุมาก กลับยิ่งชอบตื่นเช้าขึ้น ทั้งๆที่สมัยก่อน เป็นคนไม่ชอบตื่นเช้าสักเท่าไร นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม

เรามักติดภาพผู้สูงอายุในบ้านหรือรอบข้างมักตื่นขึ้นในตอนเช้า บางครั้งก็ ตื่นเช้า จนทำให้หลายคนคิดว่าคนที่อายุมากชอบตื่นเช้า แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น แต่วัยที่เริ่มจะ 35+ ขึ้นไปเริ่มจะมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น  เหตุผลที่แท้จริง เพราะไม่ใช่อยากตื่นเช้าขึ้น แต่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สามารถนอนได้น้อยลง คุณภาพการนอนลดลง ทำให้ร่างกายถูกบังคับให้ต้องตื่นขึ้นมาในตอนเช้า และไม่สามารถนอนต่อได้นั่นเอง

 

ไขข้อสงสัย? ยิ่งอายุมากขึ้น ทำไมถึงตื่นเช้า นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม

 

ผู้สูงอายุมีอาการหลับลึกน้อยลง ตื่นกลางดึกคืนละ 3-4 ครั้ง เข้าห้องน้ำตอนกลางคืนบ่อย หรือหลับไม่สนิท ต้องงีบระหว่างวัน เข้านอนหัวค่ำและตื่นตั้งแต่เช้า สิ่งเหล่านี้ขัดขวางการนอนอย่างมีคุณภาพ ทำให้การนอนหลับให้สนิทนั้นยากกว่าคนวัยหนุ่มสาวอย่างมาก และนั่นก็มีสาเหตุมาจากหลายเหตุผล  ปัจจัยใหญ่ 3 ประการที่ทำให้เปลี่ยนแปลงไปตามร่างกายที่อายุมากขึ้นได้ส่งผลต่อระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับ ซึ่งก็คือ ฮอร์โมน, สภาวะสุขภาพ และ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่ออายุมากขึ้นมักมีปัจจัยเหล่านี้อย่าง 1 อย่าง

 

ฮอร์โมน เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) และโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการนอนหลับ เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะหลั่งทั้งสองชนิดนี้น้อยลง ทำให้มีปัญหาด้านการนอนมากขึ้น รวมถึงวัยหมดประจำเดือนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ซึ่งรบกวนการนอนหลับเช่นเดียวกัน

 

สภาวะสุขภาพ เมื่ออายุมากขึ้น มนุษย์จะมีแนวโน้มเป็นโรคเรื้อรังสูงขึ้น ความเจ็บป่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นโรคข้ออักเสบที่สร้างอาการปวดหลายครั้งตอนกลางคืน โรคเบาหวานที่ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย โรคหัวใจความดันโลหิตสูงอาจทำให้ต้องสะดุ้งตื่นจากการหายใจลำบาก หรือโรคทางจิตที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ทั้งหมดขัดขวางการนอนอย่างมีคุณภาพ

 

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป   เมื่ออายุมากขึ้นกิจวัตรประจำวันก็เปลี่ยนไปจากวัยหนุ่มสาวเสมอ เมื่อออกกำลังกายหรือขยับตัวน้อยลงซึ่งส่งผลต่อการพักผ่อน เมื่ออายุมากขึ้นก็ใช้เวลาในบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ร่างกายได้รับแสงแดดน้อยลงและไปมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงการใช้ยารักษาโรคด้วยเช่นกันก็สามารถรบกวนการนอนได้

 

 

ไขข้อสงสัย? ยิ่งอายุมากขึ้น ทำไมถึงตื่นเช้า นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม

ลองปรับตามนี้เพื่อให้การนอนของคุณดีขึ้น 

 

  • ตื่นและเข้านอนในเวลาเดิมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้สูงอายุ แต่รวมถึงคนทุกเพศทุกวัยได้ประโยชน์จากวิธีนี้ด้วยเช่นกัน

 

  • จำกัดเวลาการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากหน้าจอสามารถรบกวนการนอนหลับได้

 

  • ลดหรือหลีกเลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนและนิโคตินก่อนนอน เพื่อลดปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับให้ได้มากที่สุด รวมถึงแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน เพราะแม้จะทำให้ง่วงแต่ก็ทำให้นอนหลับไม่สนิทในตอนกลางคืน

 

  • เพิ่มการขยับตัว การออกกำลังกายเบา ๆ ตามสภาพอายุจะช่วยให้ร่างกายหลับได้ง่ายขึ้นและยังมีผลต่อสุภาพโดยรวมได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ เนื่องจากการออกกำลังกายบางชนิดอาจทำให้อาการแย่ลง

 

  • รับแสงธรรมชาติให้เพียงพอ แสงแดดช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนิน พยายามรับแสงอาทิตย์อย่างน้อย 2 ชั่วโมงในแต่ละวัน การออกไปกลางแจ้งบ้างจะช่วยได้มาก

 

ท้ายที่สุดหากการนอนยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าอาจมีความผิดปกติ เช่น ภาวะสุขภาพที่ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและโรคนอนไม่หลับ ควรเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ การพูดคุยกับแพทย์จะช่วยให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น

 

ไขข้อสงสัย? ยิ่งอายุมากขึ้น ทำไมถึงตื่นเช้า นอนดึกแค่ไหนก็มักตื่นเวลาเดิม