Lifestyle

'โรคลิ้นหัวใจตีบ' ไม่ต้องผ่าตัดก็หายได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'โรคลิ้นหัวใจตีบ' จะทำให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจได้ลำบาก ในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เนื่องจากลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงดันจากเลือดตลอดเวลา

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน โรคต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน หนึ่งในโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือ “โรคลิ้นหัวใจตีบ” ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของ ลิ้นหัวใจ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอย่างมาก

ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม

 

ดังนั้นการเข้าใจสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพที่ยั่งยืน โดย ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัตถการหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง อธิบายว่า ลิ้นหัวใจเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหัวใจ ในขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวเมื่อเลือดไหลผ่านออกไป ลิ้นหัวใจ จะปิดไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับมา จึงทำหน้าที่เสมือนประตูปิด-เปิด ควบคุมให้เลือดในหัวใจไหลไปทิศทางเดียวสู่ปอดเพื่อฟอกออกซิเจนแล้วไหลกลับสู่ระบบโลหิตอีกครั้ง เมื่อมีปัญหาของลิ้นหัวใจรั่ว เลือดจะไหลย้อนกลับมา แต่ถ้า ลิ้นหัวใจตีบ เลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจได้ลำบาก ในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เนื่องจากลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงดันจากเลือดตลอดเวลา

 

ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น อาจมีหินปูนเกาะที่ ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง ผู้ป่วยจะเกิดอาการเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ใจสั่น ขาบวมตามมาด้วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียงฟู่บริเวณลิ้นหัวใจ จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติบ่อยๆ ยิ่ง ลิ้นหัวใจตีบ มาก หัวใจก็ยิ่งไม่สามารถจะบีบเลือดออกสู่ร่างกายได้ ทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งและหัวใจล้มเหลวในที่สุดหรือภาวะน้ำท่วมปอดนั่นเอง โดยสถิติแล้วเมื่อผู้ป่วย โรคลิ้นหัวใจตีบ มีสภาวะหัวใจล้มเหลว จะมีโอกาสเสียชีวิตภายใน 2 ปี สูงถึงร้อยละ 50

 

 

สำหรับวิธีการรักษานั้น วิธีรักษา โรคลิ้นหัวใจตีบ ที่เป็นมาตรฐานทั่วโลก คือ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีเยี่ยม ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตเพียงร้อยละ 1-2 เท่านั้น

 

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วย โรคลิ้นหัวใจตีบ รุนแรงจำนวนหนึ่งที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดเปลี่ยน ลิ้นหัวใจ เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดในช่องอกมาก่อน รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีโอกาสเสียชีวิตจากการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้สูงถึงร้อยละ 20 หรือมากกว่า เป็นเหตุให้ผู้ป่วยหลายรายมักจะไม่ได้รับการส่งต่อไปยังศัลยแพทย์ หรือหมอผ่าตัด หรือไม่ก็ถูกปฏิเสธการผ่าตัดไปเสียก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงเพราะหัวใจที่ต้องบีบเลือดผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบจะค่อยๆ ล้มเหลว และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด

 

 

เทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด

 

น่ายินดีที่วิทยาการทางการแพทย์ปัจจุบัน สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ลิ้นหัวใจตีบ รุนแรงกลุ่มนี้ให้รอดชีวิตได้ ด้วยการ ใส่ลิ้นหัวใจ เทียมผ่านสายสวนเข้าไปแทนที่ลิ้นเดิมที่เสื่อมสภาพโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ วิธีการใหม่จะใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนโดยจะนำลิ้นหัวใจเทียมแบบใหม่ที่ทำจากเนื้อเยื่อและได้รับการออกแบบให้สามารถหดและขยายตัวได้มาใส่ที่ปลายของสายสวนจากนั้นใช้สายสวนนำลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปอยู่ระหว่างลิ้นหัวใจเดิมแล้วจึงทำการขยายลิ้นหัวใจเทียมด้วยบอลลูนให้ขยายใหญ่ขึ้นคล้ายๆ กับการกางร่มลิ้นหัวใจเทียมที่กางขยายออกจะเข้าไปแทนที่ลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพ แล้วซึ่งวิธีการใส่สายสวนสามารถใส่ผ่านขาหนีบหรือในกรณีที่เส้นเลือดบริเวณขาหนีบเล็กเกินไปจะใส่ผ่านแผลเล็กที่ชายโครงเข้าไปทางปลายหัวใจโดยตรงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดกระดูกหน้าอกไม่ต้องใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมและไม่ต้องหยุดหัวใจ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น อีกทั้งผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ