ส่องพฤติกรรม 'โรคกลัวสังคม' การแสดงออกเป็นอย่างไร เป็นแล้วต้องรักษาวิธีใด
05 มี.ค. 2567
'โรคกลัวสังคม' เป็นความรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพบปะผู้คน กลัวว่าจะถูกผู้อื่นมองหรือตัดสินในทางลบ
ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า โรคกลัวสังคม เป็นความรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพบปะผู้คน โดยกลัวว่าจะถูกผู้อื่นมองหรือตัดสินในทางลบ เช่น ตลก น่าเบื่อ อ่อนแอ ไม่เก่งจนกระทั่งต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆ และส่งผลกับชีวิตประจำวัน
อาการ โรคกลัวสังคม
- กลัว กังวล ทุกข์มาก หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องพบปะสื่อสารกับผู้คน
- มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ตัวสั่น ใจสั่น หายใจเร็ว
- คิดเชิงลบกับการมองหรือตัดสินจากผู้อื่น
- มีปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นร่วม เช่น ภาวะซึมเศร้า
- สาเหตุของ โรคกลัวสังคม
- พันธุกรรม
- เป็นคนที่วิตกกังวลง่าย
- มีเหตุการณ์ฝังใจ
- การทำงานสมองส่วนอารมณ์และสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ
วิธีรักษา โรคกลัวสังคม
- ฝึกสติให้เท่าทันความคิดตัวเอง
- ปรับมุมมองในเชิงบวกและตามความจริง
- ฝึกกำหนดลมหายใจและผ่อนคลาย
- ฝึกซ้อมการสื่อสาร-การแสดง
- ไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้กังวล
- ชื่นชมและให้กำลังใจตนเองในความพยายาม
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากอาการไม่ดีขึ้น