Lifestyle

มีคำตอบแล้ว 'กินเร็วหรือกินช้าดีกว่ากัน' แล้ว ทำไมต้องเคี้ยวข้าวช้าๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มีคำตอบแล้ว 'กินเร็วหรือกินช้าดีกว่ากัน' เตือนคนชอบกินเร็วส่อเกิดหลายโรค แล้ว ทำไมต้องเคี้ยวข้าวช้าๆ โดยทั่วไปต้อง เคี้ยวข้าวกี่ครั้ง

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่สำหรับการกินอาหารว่าจริงๆ แล้ว "กินช้าหรือเร็วดีกว่ากัน" โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ชีวิตเราจะต้องเร่งรีบ ทำให้หลายคนต้องกินอาหารเร็วๆ กว่าปกติ

 

 

สำหรับข้อสังสัยที่ว่า "กินช้าหรือเร็วดีกว่ากัน" นั้น ข้อมูลจากนักวิจัยซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และเฝ้าติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของอาสาสมัครวัยกลางคน พบว่า คนที่รับประทานอาหารเร็วมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบ เมตาบอลิซึมมากกว่า 5.5 เท่า ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และคอเลสเตอรอลสูง

ข้อมูลยังระบุด้วยว่า หลายคนยังไม่แน่ใจ "กินช้าหรือเร็วดีกว่ากัน" และการกินเร็วยังทำให้กินในปริมาณมากขึ้น เพราะร่างกายไม่มีเวลาที่จะรู้ว่าปริมาณอาหารที่กินนั้นเพียงพอ แต่การกินช้าๆ” ดีต่อสุขภาพมากกว่า อีกทั้งยังจึงดูดซึมแคลอรี่น้อยลงด้วย

 

 

ทั้งนี้การรับประทานอาหารช้าลงมีผลต่อสำคัญในการป้องกันโรคเมตาบอลิซึม และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น สำคัญคือการเคี้ยวอาหารช้าๆ ยังช่วยเรื่องระบบการย่อยด้วย นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ใส่ใจและเพลิดเพลินกับอาหารมากขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตามยังพบว่า การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วสามารถนำไปสู่การเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการอาหารไม่ย่อย และอาการเจ็บหน้าอก ในกรณีที่รุนแรง โรคนี้อาจทำให้หลอดอาหารตีบตัน ซึ่งทำให้กลืนลำบาก รวมไปถึงการทำให้เกิดอาการท้องอืด และสะอึก นอกจากนี้การกินอาหารเร็วๆ ยังทำให้กระเพาะอาหารไม่มีเวลาเพียงพอที่จะส่งสัญญาณไปยังสมองว่าเรากินอาหารเพียงพอหรือยัง และมีผลทำให้เรากินมากเกินไปด้วย

 

 

ทำไมต้องเคี้ยวข้าวช้าๆ

การเคี้ยวข้าว หรือ เคี้ยวอาหารช้าๆ จะช่วยกระตุ้นให้ ต่อมน้ำลาย และ ต่อมใต้หู หลั่งฮอร์โมนออกมา นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นพลังแห่งการขบคิดและสมาธิ ตรงข้ามกับผู้ที่เคี้ยวอาหารไม่ค่อยได้หรือเคี้ยวเร็วไป สมองก็จะอ่อนแอตามไปด้วยผลที่ตามมาก็คือ สุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว โดยประโยชน์จากการเคี้ยวอาหารให้ช้าลง จะมีผลต่อดีสมองและร่างกายอีกด้วย

 

 

 

เคี้ยวข้าวกี่ครั้ง ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ ระบุว่า การเคี้ยวอาหาร30 ครั้ง ในแต่ละมื้อเป็นอย่างน้อยจะช่วยให้เหงือกแข็งแรงและช่วยรักษาอาการอารมณ์หงุดหงิด เครียด และโมโหง่าย – การเคี้ยวอาหาร 50 ครั้ง จะช่วยลดความวิตกกังวลของอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากินอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยลดความอ้วนได้

 

อ้างอิงข้อมูล

 vtcnews 

โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ

 

logoline