Lifestyle

หนุ่ม-สาว ออฟฟิศ ต้องรู้ อาการ 'เพลียเรื้อรัง' แก้ไขอย่างไรให้ตรงจุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อาการ 'เพลียเรื้อรัง' นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ให้หดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ไร้พลังงานที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนอย่างเคยได้

อาการ เพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรง อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ว่าไม่ควรจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ทำให้เกิดการไม่สบายตัว เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามตัว จนเกิดภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง ซึ่งนอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ให้หดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ไร้พลังงานที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนอย่างเคยได้

 

พญ.กฤดากร เกษรคำ

 

พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)  ได้มาแนะนำวิธีการแก้ไขอาการ เพลียเรื้อรัง โดยเริ่มต้นที่การหาสาเหตุ

 

 ซึ่งอาการเพลียเรื้อรัง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

 

  • การทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานระดับเซลล์ไม่ดี
  • ความเครียดสะสม
  • อายุที่มากขึ้น
  • โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน โลหิตจาง ภาวะตับทำงานผิดปกติ หรือการใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น การให้เคมีบำบัด การฉายแสง
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าสู่วัยทอง
  • ขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี เป็นต้น

หนุ่ม-สาว ออฟฟิศ ต้องรู้ อาการ 'เพลียเรื้อรัง' แก้ไขอย่างไรให้ตรงจุด

 

 

วิธีการแก้อาการ เพลียเรื้อรัง ด้วยตัวเองง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันดังนี้

 

  • รับประทานอาหารให้หลากหลายและดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยอาจเพิ่มในส่วนของวิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี ซึ่งพบได้ในอาหารประเภท ธัญพืช เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่
  • หาวิธีผ่อนคลายความเครียด หากิจกรรมที่ชอบทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ บุหรี่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมเกินไปจนร่างกายเกิดอาการล้าได้
  • การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการ อ่อนเพลีย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือต้องการทางลัดเร่งด่วน เช่น Vitamin B Complex, CoenzymeQ10, NMN เป็นต้น

 

ทั้งนี้ถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่หาย เพลีย อาจไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ซึ่งในปัจจุบันการแพทย์ทางชะลอวัยและป้องกัน มีวิธีการตรวจหาสาเหตุของอาการเพลีย จากภายในลึกถึงระดับเซลล์ ตรวจได้ละเอียดและดีกว่าการตรวจสุขภาพทั่วไป

 

logoline