Lifestyle

รู้จัก Apathy 'ภาวะไร้อารมณ์' อันตรายแค่ไหน รีบเช็ก คุณเข้าข่ายเป็นหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก Apathy 'ภาวะไร้อารมณ์' มีสาเหตุมาจากอะไร อันตรายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายหรือไม่ เช็กอาการว่าคุณเข้าข่ายเป็นหรือไม่

"ภาวะไร้อารมณ์" Apathy คือ ภาวะที่หมดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม หรือกิจวัตรที่เคยทำมาก่อน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทั้งประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง ความสุขในการใช้ชีวิตลดลง หรือแม้แต่อะไรที่เคยทำแล้วมีความสุข กลับรู้สึกว่าไม่มีแรงบันดาลใจ หรือแรงจูงใจที่จะทำแล้ว แต่ "ภาวะไร้อารมณ์" แตกต่างจาก ภาวะซึมเศร้า โดยภาวะซึมเศร้าจะมีอาการจิตตก สิ้นหวัง หมดหวังที่จะทำสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นคิดสั้นได้ 

 

 

สาเหตุภาวะไร้อารมณ์ 

 

 

  • ภาวะไร้อารมณ์เป็นภาวะที่ไม่ไยดีต่อสิ่งรอบข้าง ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคทาง จิตเวช หรือ โรคทางระบบจิตประสาท เช่น 
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia)
  • โรคสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อม (Frontotemporal Dementia)
  • โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
  • โรคก้านสมองพิการ (Progressive Supranuclear Palsy)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (Vascular Dementia)

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไร้อารมณ์

 

ในทางการแพทย์ ใช้หลักเกณฑ์ 4 ประการในการวินิจฉัย "ภาวะไร้อารมณ์"

 

1. ขาดแรงจูงใจ ไร้แรงกระตุ้น

ผู้ที่มีภาวะไร้อารมณ์จะขาดแรงจูงใจ แรงกระตุ้นในการทำกิจกรรมและสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบลดลงจนเห็นได้ชัด ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับอายุ การใช้ชีวิต และวัฒนธรรม

 

2. เปลี่ยนไปจนเห็นได้ชัดทั้งด้านพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด 

ความไม่แย่แสต่อสังคมแสดงออกผ่านพฤติกรรม อาจจะมีพฤติกรรมที่เข้าสังคมยากขึ้นหรือพยายามออกหากจากสังคม อารมณ์ 

 

3. มีผลต่อการใช้ชีวิต 

ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจนเห็นได้ชัด ทั้งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วย 

 

4.พฤติกรรมเปลี่ยนไปที่ไม่ได้มาจากสาเหตุอื่น

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความพิการ ความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือผลจากสารเสพติด

 

 

แนวทางการรักษาภาวะไร้อารมณ์

 

หากถูกวินิจฉัยว่ามีอาการป่วย "ภาวะไร้อารมณ์" แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตามความเหมาะสม โดยมีตัวยาดังนี้ 

 

 

  • ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ เช่น Donepezil Galantamine Rivastigmine
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น Paroxetine Sertraline Bupropion
  • ยากระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในสมองและกระตุ้นการเผาผลาญ เพื่อรักษาอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น Nicergoline
  • ยากระตุ้นสารโดปามีนเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน เช่น Ropinirole
  • ยารักษาโรคจิตเพื่อรักษาโรคจิตเภท
  • ยารักษาโรคสมาธิสั้น
  • เข้าบำบัดร่วมกับการใช้ยา

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะไร้อารมณ์


ภาวะไร้อารมณ์ สามารถนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ผู้ดูแลมีความทุกข์ได้ด้วยเช่นกัน หากคุณเป็นคนดูแลคนป่วยภาวะไร้อารมณ์ การดูแลตัวเองก็สำคัญมากเช่นกัน  ทางที่ดีลองเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยาหากสถานการณ์นั้นทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ

 

อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์มีการวิจัยเพื่อหาแนวทางรักษา ภาวะไร้อารมณ์ เช่น การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยจะใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำเป็นระยะเวลาสั้นๆ บนหน้าผากเพื่อกระตุ้นสมองส่วนหน้า เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า พบรอยโรคในกลีบสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ของสมองในผู้ป่วยที่ไร้อารมณ์ แพทย์เชื่อว่าศูนย์ภาวะไร้อารมณ์อยู่ส่วนหน้าของสมอง 

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : HD สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่ , Clevelandclinic

 

logoline