Lifestyle

รู้หรือไม่ 'กลิ่นหอม' ช่วย กระตุ้นความทรงจำ-พัฒนาสมอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช เผยศาสตร์แห่งการใช้ 'กลิ่นหอม' ทางเลือกเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

“กลิ่นส่งผลต่อความทรงจำของเรามากที่สุด” เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความทรงจำระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการจดจำประสบการณ์ต่างๆ ผ่านความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการสร้างเป็นเรื่องราวผสมกับความทรงจำขอ งกลิ่น ที่ได้สัมผัส หลายคนอาจมีคำถามว่าทำไมกลิ่นถึงกระตุ้นความทรงจำเราได้ดี นั่นเพราะว่าสมองกลีบหน้าของเรานั้นเชื่อมต่อตรงเข้ากับประสาทการรับกลิ่น ทำให้ทุกครั้งที่ได้กลิ่นเรามักจะนึกถึงความทรงจำนั้นได้ดีกว่าการมองเห็นหรือได้ยินอยู่เสมอ นอกจากนี้ กลิ่นหอม ยังส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ทำให้สมองเกิดการพัฒนา หากได้รับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ สมองก็พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างได้ดี ‘ธัญ’ (THANN) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและเส้นผมร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์ แนะนำ “ศาสตร์แห่งการใช้กลิ่นหอม ทางเลือกเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง”

 

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

 

พญ.ดุจฤดี เผยว่า กลิ่น และความทรงจำมีความเชื่อมโยงต่อกัน โดยกลิ่นจะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนความทรงจำ และสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ทำให้เกิดการจดจำสิ่งที่เห็นกับกลิ่นที่ได้สัมผัส เมื่อเราได้กลิ่นนั้นอีกครั้งก็จะทำให้เราย้อนคิดถึงความทรงจำเก่าๆ ซี่งประกอบด้วยภาพ ความรู้สึกและเสียงในตอนนั้นได้ เพียงไม่กี่วินาทีที่จมูกได้รับกลิ่น กลิ่นจะถูกส่งผ่านประสาทรับกลิ่นที่อยู่เหนือโพรงจมูก ไปยังกระเปาะรับกลิ่น และส่งต่อไปยังสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความรู้สึก อณูของน้ำมันหอมระเหยจะกระจายไปตามประสาทรับกลิ่นเข้าสู่สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก โดยไปกระตุ้นให้สมองสั่งการไปที่ระบบต่อมไร้ท่อ เพื่อหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึก โดยประสาทรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่ส่งผลตรงต่อสมองส่วนความจำ สามารถกระตุ้นความทรงจำที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ รวมถึงกระตุ้นความสามารถในการใช้ทักษะด้านภาษา

 

รู้หรือไม่ 'กลิ่นหอม' ช่วย กระตุ้นความทรงจำ-พัฒนาสมอง

 

การสูดดม กลิ่นหอม ของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติยังส่งผลต่อสมองส่วนรู้คิด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบความจำ เกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์หรือสิ่งของในระยะสั้น และสมองส่วนอารมณ์นี้มีผลต่อสมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนสำคัญที่ทำงานเกี่ยวกับความคิดขั้นสูง การวางแผน การตัดสินใจ รวมถึงการเรียนรู้ นอกจากนี้ กลิ่นหอม ของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับของคลื่นสมอง ได้เช่นกัน อาทิ

 

•  กลิ่นลาเวนเดอร์ และกลิ่นไม้จันทน์หอม ช่วยเพิ่มคลื่นอัลลฟ่า ทำให้เกิดความสงบและผ่อนคลาย ส่งผลให้สมองมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูลและจดจำได้ดี

 

•  กลิ่นมะลิ และกลิ่นโรสแมรี จะเพิ่มระดับคลื่นเบต้า ช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว การเรียนรู้และจดจำ รวมถึงการใช้ความคิดที่มีความซับซ้อน

 

•  กลิ่นดอกส้ม และกลิ่นกุหลาบ เพิ่มระดับคลื่นเดลต้า ช่วยให้นอนหลับลึก หลับสนิท เมื่อร่างกายหลับสนิทก็ส่งผลให้ระบบความจำดีขึ้นตามไปด้วย

 

ปัจจุบันก็มีตัวอย่างงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2023 โดยนิตยสารฟรอนเทียร์ เกี่ยวกับผลการวิจัยของนักประสาทวิทยาของศูนย์ประสาทวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ เกี่ยวกับผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ เพื่อบำบัดความจำและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการรับกลิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-85 ปี จำนวน 43 คน โดยแต่ละคนจะได้สูดดมน้ำมันหอมระเหยในช่วงกลางคืนก่อนนอนทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง และจะมีการเปลี่ยนกลิ่นให้แตกต่างในแต่ละวัน จากนั้นก็วัดผลด้วยวิธี Functional MRI (fMRI) และผลการทดสอบทางจิตวิทยา เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสามารถกระตุ้นความสามารถในการรับรู้ ความจำ และความคิดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 226 เมื่อเทียบกลับกลุ่มที่ได้สูดดมน้ำมันหอมระเหยเพียงเล็กน้อย

 

นอกจากนี้การใช้กลิ่นหอมบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากพืชยังได้ถูกนำใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนหลับยาก โดยการสูดดมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ เป็นเวลา 5 นาทีก่อนนอนทุกวัน จะช่วยให้นอนหลับได้ง่าย และหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้การบำบัดด้วย กลิ่น ยังถูกใช้ในการช่วยฟื้นฟูความทรงจำในระยะสั้น และได้รับความนิยมนำมาใช้เพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสมอง อาทิ โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคทางจิตอีกด้วย

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ