Lifestyle

มะเร็งปากมดลูก รู้ก่อนป้องกันคุณจากโรคมะเร็งตัวร้าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทย ความรู้เรื่องโรค สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการมะเร็งปากมดลูก การป้องกันโรค วัคซีน HPV และการรักษามะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงเป็นอันดับต้นๆ เราทุกคนควรให้ความสำคัญและใส่ใจกับโรคมะเร็งปากมดลูกให้มาก การมีความรู้จะช่วยป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่เด็ก และการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยพบเจออาการมะเร็งปากมดลูกระยะแรกตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นระยะที่สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที 


อาการบ่งชี้โรคมะเร็งปากมดลูก สังเกตความผิดปกติได้อย่างไร?
โรคมะเร็งปากมดลูกอาการมีได้หลายอย่าง อาทิ มีอาการเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมากและมีกลิ่นหรือมีเลือดปน ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดหน่วงท้องน้อยหรือปวดอุ้งเชิงกราน มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในกรณีที่มะเร็งลุกลาม อาการของมะเร็งปากมดลูกอาจมีขาบวมร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลืองโต หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้ หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูก

รู้จักสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้
สาเหตุมะเร็งปากมดลูกส่วนมากคือ เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus ซึ่งในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจเคยได้รับเชื้อนี้ แต่ร่างกายบางคนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อแบบคงอยู่นาน (Persistent Infection) ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วยอาจทำให้ติดเชื้อลุกลามได้ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เคยคลอดบุตรมากกว่า 3 คน ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้ออื่น เช่น HIV คลามีเดีย หนองในแท้ ซิฟิลิส เป็นต้น 


โดยการติดเชื้อนี้จะทำให้เซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนรูปผิดปกติ จนพัฒนากลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด มีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี จึงจะตรวจพบเซลล์มะเร็งที่บริเวณปากมดลูก


การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีวิธีใดบ้าง?
 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่

  • การตรวจภายใน คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโรคทางนรีเวช จะเป็นการตรวจดูรอยโรคเท่านั้น หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ต้องใช้วิธีการตรวจอื่นเพิ่มเติม
  • การตรวจ Pap smear คือ การใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอด จากนั้นตัดชิ้นเนื้อตรงเซลล์ปากมดลูกเพื่อนำส่งทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีทางเซลล์วิทยาเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่อาจเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • การตรวจ ThinPrep Pap Test เป็นการเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว จะมีความแตกต่างจาก Pap smear ตรงที่มีการนำตัวอย่างเซลล์ไปแช่ไว้ในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ และยังมีการคัดแยกตัวอย่างเซลล์ที่ปนเปื้อนออกไปเสียก่อน แล้วนำไปตรวจ HPV ในห้องปฏิบัติการ
     

มะเร็งปากมดลูก รักษาได้อย่างไร?
การรักษามะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้รังสี เคมีบำบัด การผ่าตัดและการรักษาร่วมกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้


การใช้รังสี 
การใช้รังสี (Radiation therapy) มี 2 ประเภท ได้แก่ การฉายรังสีระยะไกลและการให้รังสีระยะใกล้ โดยการฉายรังสีระยะไกลจะใช้เครื่องกำเนิดรังสีเพื่อฉายรังสีไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนการให้รังสีระยะใกล้จะเป็นการใช้แร่ผ่านด้านในช่องคลอด ซึ่งเป็นการให้รังสีในระยะสั้นเท่านั้น หากต้องการมีบุตรในอนาคต อาจต้องวางแผนเก็บรักษาไข่ไว้ล่วงหน้า เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนเวลา


เคมีบำบัด
เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกแบบลุกลามเฉพาะที่ หรืออยู่ในระยะแพร่กระจาย แต่โดยส่วนมากจะเป็นการใช้เคมีบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาแบบใช้รังสี


การผ่าตัด
การผ่าตัด (Surgical treatment) เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1-2 หากเป็นระยะเริ่มต้นจะผ่าตัดเฉพาะปากมดลูกและมดลูก หรือหากต้องการมีบุตรอาจสามารถเก็บมดลูกไว้ได้ หากเซลล์มีการลุกลามมากกว่านั้น จะเป็นการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง ตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก ช่องคลอด เนื้อเยื่อด้านข้าง และต่อมน้ำเหลือง เรียกว่า Radical hysterectomy


การรักษาร่วม
การรักษาร่วมกัน (Combined treatment) ตัวอย่างเช่น

  • การใช้เคมีบำบัดพร้อมกับการใช้รังสี (Concurrent chemoradiation) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา วิธีนี้จะใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม ไม่สามารถใช้แค่รังสีได้
  • ก่อนการผ่าตัดอาจมีการใช้ยาเคมีบำบัด (Neoadjuvant chemotherapy) เพื่อช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง ลดการแพร่กระจาย ลดขนาดของก้อนมะเร็ง ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาเพิ่มมากขึ้น วิธีนี้ยาเคมีบำบัดจะสามารถออกฤทธิ์ได้ดีเป็นวงกว้าง เนื่องจากผ่าตัดทีหลัง ยังไม่มีการรบกวนการให้ยา
  • การใช้รังสีหลังการผ่าตัด (Adjuvant radiation therapy) โดยมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ในกรณีที่มีการตรวจพบว่า มีการแพร่กระจายของมะเร็งนอกเหนือจากปากมดลูกแล้ว
  • การให้ยาเคมีบำบัด ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการใช้รังสี ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกยังไม่เป็นที่นิยมในการรักษาด้วยวิธีนี้ เนื่องจากประสิทธิภาพไม่ได้สูงขึ้นมากนัก


สรุปมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงเป็นอันดับต้นของประเทศไทย แต่สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ปัจจุบันยังมีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี เป็นต้นไป


สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ไม่อยากเดินทาง หรือรอคิวให้เสียเวลา แอปพลิเคชัน Bedee สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐาน เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส สามารถพูดคุยกับแพทย์ตามเวลาที่สะดวก ราคาเหมาะสม มีความเป็นส่วนตัวในการปรึกษาและช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้อย่างสบายใจ


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ