ไลฟ์สไตล์

เป็น 'ความดันโลหิตสูง' ออกกำลังกายได้หรือไม่ ออกกำลังกาย แล้วดีอย่างไร?

การ 'ออกกำลังกาย' สม่ำเสมอในผู้ป่วย 'ความดันโลหิตสูง' เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรักษาและควบคุมความดันโลหิต แต่ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้ชำนาญการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหง กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้ที่มี “ความดันโลหิตสูง” การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและ ออกกำลังกาย สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว

 

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์

 

 

ในผู้ที่มีปัญหา ความดันโลหิตสูง การ ออกกำลังกาย สม่ำเสมอจะสามารถช่วยควบคุม ความดันโลหิต ได้ โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งในร่างกายและหลอดเลือด ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดลดลง หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่สูบฉีดแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น ระดับพลาสมานอร์อิพิเนฟริน ลดลง ผลโดยรวมจึงทำให้ความดันโลหิตลดลง และยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การเผาผลาญดีขึ้น ควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการปวดข้อต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น

 

การ ออกกำลังกาย จึงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรักษาและควบคุม ความดันโลหิต แต่การออกกำลังกายในคนที่เป็น ความดันโลหิตสูง ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อผลการออกกำลังกายที่ดีและมีความปลอดภัย

 

เป็น \'ความดันโลหิตสูง\' ออกกำลังกายได้หรือไม่ ออกกำลังกาย แล้วดีอย่างไร?

 

วิธีดูแลตัวเองในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

 

  • ผู้ที่เป็น ความดันโลหิตสูง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจระดับของความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับของ ความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง เช่น ลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ และลดความเครียด
  • งดกินอาหารรสเค็ม ทอด และมีไขมันสูง ให้เปลี่ยนมากินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ ให้มากขึ้น
  • วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและจดบันทึกลงในสมุดเพื่อนำไปให้แพทย์ผู้รักษาใช้ประกอบการรักษา ความดันโลหิตสูง
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอกหรืออ่อนเพลียผิดปกติ และควรสังเกตอาการตอบสนองของความดันโลหิตหลังจากที่ทำกิจกรรมต่างๆ

 

** การออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาและควบคุม ความดันโลหิต แต่การออกกำลังกายในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อผลการออกกำลังที่ดีและมีความปลอดภัย

 

ข่าวยอดนิยม