Lifestyle

'แคะจมูกบ่อย' เป็นโรคนี้ ที่ไม่มีใครรู้ อันตรายของคนชอบ 'แคะจมูก'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'หนุ่ม' ปักกิ่ง 'แคะจมูกบ่อย' หน้าบวม แทบจำไม่ได้ แพทย์วินิจฉัย เป็นโรค ไฟลามทุ่ง เรื่องยุ่งๆ ของคนชอบ 'แคะจมูก'

เพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ โพสต์ข้อความเตือน จากสื่อไต้หวัน ที่ลงข่าว “หนุ่ม” เมืองปักกิ่ง วัย 33 ปี หน้าบวมจนจำไม่ได้ เนื่องจากเขาติดเชื้อ หลัง “แคะจมูกบ่อย” เกินไป แพทย์วินิจฉัยว่า เขาเป็นโรค “ไฟลามทุ่ง” ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บริเวณผิวหนัง ในชั้นหนังแท้ หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นตื้น และในส่วนท่อน้ำเหลืองใกล้เคียงอื่นๆ

แคะจมูกบ่อยเสี่ยงโรค ขอบคุณภาพจาก World Forum ข่าวสารต่างประเทศ

พฤติกรรมของ หนุ่ม รายนี้ เป็นคนชอบ “แคะจมูก” โดยช่วงแรก เขามีอาการท้องผูก รู้สึกว่าจมูกบวม ต่อมน้ำเหลืองโต ไปตรวจที่โรงพยาบาล แต่การวินิจฉัยผิด แพทย์แจ้งเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ แต่พอวันรุ่งขึ้น ก็พบว่าหน้าบวมจนจำไม่ได้ จึงไปพบแพทย์อีกครั้ง แพทย์ได้วินิจฉัยเขาเป็นโรค “ไฟลามทุ่ง” และอยู่ในความดูแลของแพทย์ รักษาด้วยยาจีน และยาสมัยใหม่ ควบคู่กันไปนาน 7 วัน อาการบวมลดลง

 

 

โรคไฟลามทุ่ง คืออะไร

 

ทั้งนี้ ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง ในชั้นหนังแท้ (Dermis) หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นตื้น และในส่วนท่อน้ำเหลืองใกล้เคียงอื่นๆ ส่งผลให้ผิวหนังเกิดการลุกลามเป็นผื่น บวมแดง อาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงไปยังกล้ามเนื้อ หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ และเชื้อนี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นไฟลามทุ่ง ไม่ใช่แค่โรคผิวหนังธรรมดาทั่วไป

   หนุ่มชอบแคะจมูก ติดเชื้อไฟลามทุ่ง

สาเหตุของโรคไฟลามทุ่ง

 

เมื่อผิวหนังเกิดการความผิดปกติ เช่น มีแผล บวม แดง เป็นผื่น ติดเชื้อรา หรือเป็นโรคสะเก็ดเงิน เชื้อแบคทีเรีย เบตา เฮโมไลติก สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A Beta-Hemolytic Streptococcus) หรือ สเตรปโตคอคคัส ไพโอจีนัส(Streptococcus pyogenes) ที่อยู่ในผิวหนังของคนเรา และไม่เป็นอันตรายใดๆ จะเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อข้าสู่ผิวหนังในชั้นหนังแท้ตามมา

 

 

 

นอกจากนี้ ไฟลามทุ่ง ยังเกิดได้จากการติดเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น

 

  •  การถูกแมลงสัตว์ กัด ต่อย
  •  ติดเชื้อที่แผลจากการผ่าตัด
  •  แผลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  •  การฉีดสารเสพติดเข้าสู่ร่างกาย

      ภาพประกอบโรค ไฟลามทุ่ง

อาการของโรค ไฟลามทุ่ง

 

  • ผิวหนังบวม แดง อักเสบ และเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว
  • มีผิวหนังลอกออกเป็นขุย
  • เมื่อสัมผัสผิวหนังที่ติดเชื้อจะมีอาการเจ็บ ปวด แสบร้อน และอาจมีเลือดไหล เป็นรอยจ้ำเขียว
  • มีตุ่มน้ำพองนูนขึ้นมา

 

 

อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงเป็นโรคไฟลามทุ่ง มักจะเป็นเด็กเล็ก ที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายยังไม่แข็งแรง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หรือผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต นอกจากนี้ ผู้ที่กำลังทำการรักษาจากโรคมะเร็ง หรือได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ต้องได้รับยา มีคุณสมบัติในการกดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปัจจัยนี้ก็สามารถเป็นโรคไฟลามทุ่งได้เช่นกัน

 

 

 

ขอบคุณเพจ : World Forum ข่าวสารต่างประเทศ, โรงพยาบาลเพชรเวช

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ