ไลฟ์สไตล์

แพทย์แนะ วิธีเพิ่ม 'แคลเซียม' เลี่ยง 'โรคกระดูกพรุน' ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

แพทย์แนะนำ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อ 'โรคกระดูกพรุน' พร้อมทางเลือกในการเพิ่ม 'แคลเซียม' ให้แก่ร่างกาย ด้วยเครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำ

ภาวะกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะพบได้มากในผู้สูงอายุ และสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบัน ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคกระดูกพรุนลดลงทุกปี ที่สำคัญร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นหรือมีความเสี่ยงต่อโรค ถือเป็นภัยเงียบที่คนไทยส่วนใหญ่มองข้าม สาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน การบริโภค แคลเซียม ในคนไทยเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ 400 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น ในขณะที่คนเราต้องการปริมาณแคลเซียมโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน

 

ทั้งนี้ หากร่างกายมีอาการขาด แคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะก่อให้เกิด โรคกระดูกพรุน กระดูกบางเปราะและแตกได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณที่สำคัญอย่างสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เช่น วิงเวียน เหนื่อยง่าย เล็บบางและรุนแรงไปจนถึงกระดูกแตกง่าย เป็นต้น

 

นพ.สุชาติ เลาหบริพัทธ์

 

นพ.สุชาติ เลาหบริพัทธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในทุกวัย รวมถึงวัยทำงาน ด้วยการเลือกทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในแต่ละวัน ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม อาทิ

 

  • การออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  • นอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • พยายามหลีกเลี่ยงการโหมงานหนักจนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การนั่งอยู่กับหน้าจอคอมเป็นระยะเวลานาน
  • ลดหรือเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือ กาแฟ ที่เป็นพฤติกรรมอันตรายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

 

 

ทั้งนี้อาหารเสริมหรือแคลเซียมเสริม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนในวัยทำงานควรใส่ใจเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายเราได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมาะกับประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละวัน คุณหมอแนะนำให้ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อความแน่ใจว่ามวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติตามอายุ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

 

นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา

 

ด้าน นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด แนะวิธีการเลือกเสริมแคลเซียมให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนทำงาน ด้วยเครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำที่นอกจากจะได้ แคลเซียม ถึง 200 มิลลิกรัม ดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย แล้วยังได้เติมความสดชื่นระหว่างวัน สามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้ ทั้งยังพบว่าสามารถในการละลายที่ดีมากทั้งในกระเพาะอาหารและในลำไส้เล็ก เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นแบบ Chelate’s complex structure ซึ่งมีความแข็งแรงและช่วยให้แคลเซียมไม่แตกตัวในกระเพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรดและสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กที่มีสภาพเป็นด่างได้จนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพราะ แคลเซียม ในรูปแบบอื่นๆ นั้นมักจะเกิดการแตกตัวในกระเพาะอาหารและจะตกตะกอนในลำไส้เล็กทำให้เกิดการดูดซึมที่น้อยกว่า และยังสามารถถูกดูดซึมเข้ากระดูกได้ดี เนื่องจากสัดส่วนของแคลเซียม เท่ากับ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับในกระดูก

 

 

ฉะนั้น การดื่ม แคลเซียม วอเตอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้าง แคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญๆ ให้กับร่างกายจึงมีส่วนช่วยให้โอกาสในการเกิด โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบางก่อนวัยอันควรลดลง การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนอกจากช่วยเสริมสร้างกระดูกแล้ว ยังช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท แคลเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดและในเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการส่งกระแสประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของเซลล์โดยมีฮอร์โมนสองชนิดทำหน้าที่ปรับสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด

 

ข่าวยอดนิยม