Lifestyle

ไม่อยากเป็น 'โรคไต' ใครบ้าง? ที่ควรตรวจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อาการสำคัญที่พบได้ ในผู้ป่วย 'โรคไต' คือ ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่น มีอาการบวมทั่วตัว ที่สังเกตได้ง่ายคือบริเวณเปลือกตา ขา และเท้า มีอาการปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงข้างกระดูกสันหลัง หรือมีความดันโลหิตสูง

ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่กำจัดของเสีย รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างและเกลือแร่ หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับไตย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างแน่นอน

 

อาการสำคัญที่พบได้ คือ ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่น มีอาการบวมทั่วตัว ที่สังเกตได้ง่ายคือบริเวณเปลือกตา ขา และเท้า มีอาการปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงข้างกระดูกสันหลัง หรือมีความดันโลหิตสูง เพราะ โรคไต จะมีอาการแย่ลงทีละน้อย ซึ่งหลายคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นโรคไตอยู่ จนอาการแย่มากแล้ว

 

ไม่อยากเป็น 'โรคไต' ใครบ้าง? ที่ควรตรวจ

 

 

การตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจทำให้ โรคไตเรื้อรัง คงตัวและหายได้ ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง โรคไต คือ ผู้ที่อายมุากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกาต์ หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน ผู้ที่ได้รับยาแก้ปวดหรือสารพิษที่ทำลาย ไต เป็นประจำ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้นควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคไต

 

รวมถึงการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลโรคไตได้

 

ไม่อยากเป็น 'โรคไต' ใครบ้าง? ที่ควรตรวจ

 

 

การรักษา โรคไตเรื้อรัง สามารถทำได้ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกเลือดทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ส่วนจะใช้วิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์

 

** เมื่อผู้ป่วยเกิดไตวายเรื้อรังจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อให้ร่างกายสามารถขับของเสียและสามารถดำรงชีวิตได้ต่อไป การปลูกถ่ายไตหรือผ่าตัดเปลี่ยน ไต เป็นวิธีการรักษา โรคไตวายเรื้อรัง อีกหนึ่งทางเลือก ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

 

ใครบ้าง? ที่สามารถรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต

 

  • ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
  • ต้องไม่มีโรคที่รุนแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
  • ต้องไม่เป็นมะเร็งที่รักษาไม่หายขาด
  • ต้องไม่ป่วยทางจิต
  • ต้องไม่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะที่แก้ไขไม่ได้

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1127

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ