'โรคกระดูกพรุน' ภัยสุขภาพต่อทุกช่วงอายุ - ขาดแคลเซียม อีกหนึ่งปัจจัยชี้นำ
จับกระแสสุขภาพว่าด้วย "ภาวะกระดูกบาง" หรือ "โรคกระดูกพรุน" ณ เวลานี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย จากเดิมที่พบความเสี่ยงในผู้สูงอายุ และสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคกระดูกพรุนลดลงทุกปี หรือเข้าใกล้ในทุกกลุ่มอายุ
"การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุน ในทุกวัย รวมถึงวัยทำงาน สามารถทำได้ด้วยการเลือกทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละวัน ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม อาทิ การออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง , นอนหลับให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ต่อ วัน , หลีกเลี่ยงการโหมงานหนักจนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ , ลดหรือเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือ กาแฟ ที่เป็นพฤติกรรมอันตรายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน" นายแพทย์ สุชาติ เลาหบริพัทธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ให้ข้อมูล ถึงภาวะความเสี่ยงที่มีผลไปถึงกลุ่มคนในวัยทำงาน
"ภาวะกระดูกบาง" หรือ "โรคกระดูกพรุน" ณ เวลานี้ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะพบได้มากในผู้สูงอายุ และสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบัน ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคกระดูกพรุนลดลงทุกปี หรือเข้าใกล้ในทุกกลุ่มอายุ มีข้อมูลในทางการแพทย์ ที่
บ่งชี้ว่าร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น หรือมีความเสี่ยงต่อโรค "ภาวะกระดูกบาง" หรือ "โรคกระดูกพรุน"
จึงเป็นภัยเงียบที่คนส่วนใหญ่มองข้าม
ปัจจัยของภาวะโรคกระดูกพรุน สาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน การบริโภคแคลเซียมในคนไทยเฉลี่ยเพียงแค่ 400 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น ในขณะที่ความต้องการปริมาณแคลเซียมโดยเฉลี่ย 1,000 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้ หากร่างกายมีอาการขาดแคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกบางเปราะและแตกได้ง่าย
โดยเฉพาะบริเวณที่สำคัญอย่างสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายด้วยตนเองได้ง่ายๆ เช่น วิงเวียน เหนื่อยง่าย เล็บบางและรุนแรงไปจนถึงกระดูกแตกง่าย เป็นต้น ดังนั้นจึงตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ให้แน่ใจว่ามวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติตามอายุ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
"
การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนอกจากช่วยเสริมสร้างกระดูกแล้ว ยังช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท แคลเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดและในเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการส่งกระแสประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของเซลล์โดยมีฮอร์โมนสองชนิดทำหน้าที่ปรับสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด " นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันอี เบฟเวอเรจ ให้ทัศนะ
นายแพทย์ สุชาติ เลาหบริพัทธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน
นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุน มีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุน คือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง
อาการกระดูกพรุน เนื่องจากโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนจนเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก อาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจและหมั่นสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง ความสูงลดลง ส่วนจุดเสี่ยงกระดูกหักจากกระดูกพรุน บริเวณที่มักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกสันหลัง สะโพก และ ข้อมือ
ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ด้วยเหตุที่โรคกระดูกพรุนเกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมที่มาจากหลายสาเหตุ หลักการรักษาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก มีทั้งการรับประทานยา การฉีดยา และการเพิ่มฮอร์โมน
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay.com