Lifestyle

7 ความเชื่อเรื่อง 'ยา' ที่หลายคนยัง เข้าใจผิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลายครั้งที่ความ เข้าใจผิด ความไม่รู้ รวมถึงความเชื่อผิดๆ ส่งผลให้เกิดอันตรายในการใช้ 'ยา' ได้ ดังนั้นการใช้ยาควรใช้อย่างถูกวิธี ตามขนาด และระยะเวลาการรักษา ที่เภสัชกรหรือแพทย์แนะนำเท่านั้น

"ยา" หนึ่งในปัจจัย 4 ที่ช่วยในการบรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค และอาการป่วยต่างๆ แต่หลายครั้งที่ความไม่รู้เรื่องการใช้ยา ทำให้กลายเป็น ความเข้าใจผิด รวมถึงความเชื่อผิดๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้การใช้ยานั้นก่อให้เกิดอันตรายได้

 

สำหรับ 7 ความเชื่อเรื่อง "ยา" ที่หลายคน เข้าใจผิด ประกอบด้วย

 

1.ยาฉีดดีกว่ายากิน เป็นความเชื่อที่ผิด

ตัวยาชนิดเดียวกัน ประสิทธิภาพในการรักษาโรคเท่ากัน

 

 

2. กินยาดักไข้ไว้ก่อนจะได้ไม่ป่วย เป็นความเชื่อที่ผิด

การ กินยา โดยไม่มีอาการไข้ทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีเข้าไปโดยไม่จำเป็น และอาจมีผลข้างเคียงจาก ยา

 

3. ใช้ยาที่มีฤทธิ์แรง เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า เป็นความเชื่อที่ผิด

หากร่างกายตอบสนองต่อขนาดยาปกติดี ไม่จำเป็นต้องใช้ยาแรง

 

4.ยาทุกชนิดควรเก็บในตู้เย็น เป็นความเชื่อที่ผิด

ยาแต่ละชนิดมีความคงตัวต่างกัน (ควรเก็บยาตามคำแนะนำบนฉลาก)

 

 

5.ยาทาภายนอก ทาเยอะ ทาบ่อยยิ่งดี เป็นความเชื่อที่ผิด

ไม่ควรทำเพราะจะเพิ่มอันตรายจากผลข้างเคียงของ ยา, อาจเกิดการระดายเคืองบริเวณที่ทา

 

6.ยาของไทยประสิทธิภาพน้อยกว่ายาต่างประเทศ เป็นความเชื่อที่ผิด

ยาทุกตัวที่วางจำหน่ายต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการผลิต จึงมีประสิทธิภาพการรักษาเช่นเดียวกันหากใช้อย่างถูกต้อง

 

7.ปัสสาวะเปลี่ยนสีแปลว่ายานั้นออกฤทธิ์ดี เป็นความเชื่อที่ผิด

 

ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากยามี 2 แบบ

  • ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากการที่ยาถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย
  • ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากผลข้างเคียงของยา บ่งบอกถึงอันตรายหรือความผิดปกติอื่นร่วมด้วย

 

logoline