Lifestyle

แพทย์แนะวิธีป้องกัน 'เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม' จากการทำงานด้วย 'โน้ตบุ๊ก'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์แนะวิธีป้องกัน 'เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม' สำหรับใครที่ใช้คอมพิวเตอร์ 'โน้ตบุ๊ก' ทำงานที่บ้านเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้

จากสถานการณ์การระบาดใหม่ของโควิด-19 เมื่อช่วง 2-3 ปีผ่านมา ทำให้ทุกวันนี้หลายคนยังต้องทำงานจากที่บ้าน เพื่อสนับสนุนการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน แต่หากนั่งทำงานเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดปัญหาอาการ "เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม" (Work from Home Syndrome) ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ส่วนใหญ่จะมีหน้าจอและแป้นพิมพ์ขนาดเล็ก หน้าจออยู่ในระดับต่ำกว่าสายตา จึงไม่สามารถจัดท่าทางการทำงานได้อย่างเหมะสม

 

พญ. อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง

 

 

วันนี้ พญ. อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลนวเวช จึงมาให้ความรู้ความ เพื่อให้ทุกท่านรู้วิธีการป้องกันการเกิดอาการ เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม จากการใช้คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ได้

 

อาการ เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม ที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ อาการปวดคอบ่า บางครั้งอาจมีปวดร้าวไปศีรษะได้ หรือบางคนอาจมีปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือ ชานิ้วมือ ทั้งนี้เกิดจาก จากพฤติกรรมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ทำงานเป็นเวลานานโดยไม่พัก ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดเกร็งในท่าเดิม หรือท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่าที่ศีรษะยื่นไปด้านหน้ามากเกินไป ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากขึ้น

แพทย์แนะวิธีป้องกัน 'เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม' จากการทำงานด้วย 'โน้ตบุ๊ก'

การศึกษาวิจัยพบว่าน้ำหนักศีรษะในคนทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ย 12 ปอนด์ ถ้าหากยื่นศีรษะไปด้านหน้ามากขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากขึ้น ประหนึ่งว่าน้ำหนักของศีรษะจะเพิ่มขึ้นทุก 10 ปอนด์ต่อระยะทางที่เพิ่มขึ้นทุก 1 นิ้ว ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีหน้าจอขนาดเล็กและที่จัดวางไม่เหมาะสม ทำให้ต้องก้มหน้าเพื่อมองเห็นได้ชัด จึงทำให้กล้ามเนื้อคอด้านหลังต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้มีอาการปวดต้นคอได้

 

 

อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม ได้แก่

 

  • สภาพแวดล้อมของการทำงานไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะทำงานที่สูงจนเกินไป เก้าอี้เตี้ยเกินไป หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น
  • เรื่องสภาวะของร่างกายและจิตใจ เช่น การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ความเครียด เป็นต้น

 

แพทย์แนะวิธีป้องกัน 'เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม' จากการทำงานด้วย 'โน้ตบุ๊ก'

 

วิธีป้องกันการเกิดอาการ เวิร์ค ฟรอม โฮม ซินโดรม จากการคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก

 

  1. ท่านั่งทำงานที่ถูกต้องตามหลักสรีระ คือ นั่งหลังตรง ไม่งอตัว สายตามองตรงไปที่หน้าจอ ไม่ก้มหรือเงยคอ จัดตำแหน่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมแก่ผู้ใช้งาน
  2. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน เช่น วางของที่ใช้บ่อยให้วางไว้ใกล้ตัว ปรับแสงไฟให้เหมาะสมเพียงพอ เป็นต้น

     2.1 การจัดวางตำแหน่งคอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์ที่เหมาะสม มีดังนี้

  • ตั้งจอคอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์ไว้ในแนวตรงกับหน้า
  • ขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับสายตา เนื่องจากสายตาที่มองลงจะเมื่อยล้าน้อยกว่าการมองขึ้น
  • จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่อ่านสบายตา
  • ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ถ้าจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรปรับตั้งหน้าจอให้อยู่สูงขึ้นเพื่อให้คอและลำตัวไม่ต้องก้ม และหาแป้นพิมพ์และเมาส์มาใช้เพิ่มเพื่อทำการเชื่อมต่อกับตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะการที่แป้นพิมพ์อยู่สูงเกินส่งผลทำให้ต้องยกบ่าและไหล่ขึ้น กล้ามเนื้อที่บ่าและไหล่ก็จะทำงานหนักทำให้มีอาการปวดล้าได้หลังการทำงานนาน
  • ปรับที่วางแป้นพิมพ์ให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ