Lifestyle

การแพทย์เชิงท่องเที่ยว นำไทยสู่ "ศูนย์กลางทางการแพทย์" นานาชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไทยเดินหน้ารุกสู่ "ศูนย์กลางทางการแพทย์" ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาใช้บริการทางการแพทย์ สถานพยาบาลเอกชนขานรับ เปิด "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" มาตราฐานสากล เพิ่มอัตราการเกิดใหม่ รองรับคนอยากมีลูกทั่วโลก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ปี 2566-2570) ไทยเป็น "ศูนย์กลางทางการแพทย์" มูลค่าสูง อาจไม่ใช่โจทย์ท้าทายหากเทียบกับโอกาสความเป็นไปได้ ด้วยจุดแข็งดึงดูดผู้คนทั่วโลกเข้ามาใช้บริการ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง สถานพยาบาลได้มาตรฐานครบวงจรที่มีชื่อเสียงระดับโลก

 

 

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 5 จากซ้าย) เยี่ยมชมกิจการโรงพยาบาลเมดพาร์ค ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ เมื่อปี 2564

 

 

 

 

อีกทั้ง บุคลากรที่มีความรู้ อัตราค่าบริการความเหมาะสมเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ผู้ให้บริการมีจิตใจในการบริการและการต้อนรับในเกณฑ์ที่สูง และยิ่งสภาพสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจากสังคมผู้สูงอายุ ภาวะการมีบุตรยาก ล้วนเป็นสัญญาณบวกที่ทำให้ไทยก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางทางการแพทย์" ได้เร็วขึ้น

 

 

 

ตอกย้ำโอกาสเป็น "ศูนย์กลางทางการแพทย์" ด้วยสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทยเฉพาะปีนี้ (ปี 2566) "กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา" เปิดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-25 มิ.ย พบว่า มีจำนวน เกือบ 12.5 ล้านคน เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 539%

 

 

 

 

พยาบาลโรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้รับรางวัลการันตีเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถโดดเด่น ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย ในระดับสากล

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่ภายในศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลเมดพาร์ค

จากรายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า 17.5% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั่วโลก กำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก โดยจำนวนตัวเลขของผู้ประสบภาวะมีบุตรยากในประเทศที่มีรายได้สูงอยู่ที่ 17.8% และ 16.5% สำหรับประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยในระดับปานกลาง สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก หมายความว่า ทั่วโลกจะมุ่งตรงมาที่ประเทศไทย เพราะเวลานี้มี "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" ระดับสากลรองรับความต้องการคนอยากมีลูก และเที่ยวไทยไปในตัว ล่าสุดที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค (เมดพาร์ค) ได้เปิด "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ"

 

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

 

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ

"ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" เมดพาร์ค บริการครอบคลุมให้คำปรึกษาสำหรับคู่แต่งงาน ตรวจคัดกรองภาวะมีบุตรยาก รักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ฝากไข่ ฝากสเปิร์ม แช่แข็งตัวอ่อน และดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อผู้ใช้บริการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ ไปจนถึงการคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย และเติบโตเป็นเด็กที่มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง

 

 

 

 

ทีมแพทย์ "เมดพาร์ค" ชำนาญการระดับอาจารย์แพทย์โรงเรียนแพทย์ และแพทย์ที่มีประสบการณ์รักษาภาวะมีบุตรยากในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนถึง 30 ปี พร้อมด้วยบุคลากรผู้มีความชำนาญเฉพาะทางมากกว่า 10 ปี

 

 

 

 

ทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ และผู้บริหารโรงพยาบาล เมดพาร์ค ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2566

 

 

 

 

"รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์" หัวหน้าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ อธิบายว่า ทั่วโลกประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากคู่แต่งงานทั่วโลก แม้แต่คู่แต่งงานในประเทศไทยเองหันมาใช้บริการ "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" เพิ่มมากขึ้น

 

 

 

 

รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

 

 

 

 

"ศูนย์ของเราจะดูแลตั้งแต่ก้าวเข้ามาในโรงพยาบาล จนกระทั่งได้ลูกกลับไปอย่างสมบูรณ์แบบ เราดูแลเหมือนเป็นคนในครอบครัวจนกว่าจะคลอด คลอดแล้วอยากกลับมาหาเราก็มีทุกแผนกพร้อมรับไม้ต่อที่มีความชำนาญในการรักษาทุกสาขา" "รศ.นพ. สุภักดี" กล่าว

 

 

 

 

"พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์" แพทย์สูตินรีแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ กล่าวด้วยว่า เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ใช้ภายใน "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" ได้คุณภาพระดับสากล อุปกรณ์รุ่นใหม่ อย่างการคัดเลือกตัวอ่อนด้วยระบบเอไอ (AI) ชื่อว่า ไอด้าสกอร์ (iDAScore) เป็นการให้คะแนนและติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนทุกตัว ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี Timelapse กล้องบันทึกภาพที่ติดตั้งอยู่ในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Embyoscope Plus ทำหน้าที่ติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและนำมาเรียงเป็นวิดีโอ ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำตัวอ่อนออกมาจากตู้เพื่อส่องกล้องจุลทรรศน์แบบตู้รุ่นเก่า ที่เป็นการรบกวนตัวอ่อนและมีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ 

 

 

 

 

นอกจากนี้ "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" ยังมีการติดตั้งชิป (RFID Tags) บนภาชนะเก็บไข่ สเปิร์ม และตัวอ่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น การสลับไข่กับสเปิร์มของคู่อื่น  การสลับตัวอ่อนคุณภาพดีกับตัวอ่อนผิดปกติ เป็นต้น โดยจะนำมาใช้ควบคู่กับระบบระบุตัวตนของผู้เข้ารับบริการ

 

 

 

 

ชิป (RFID Tags) เทคโนโลยียืนยันตัวตนเพื่อป้องกันความผิดพลาดทางข้อมูลผู้ใช้บริการที่ลิ้งค์ทุกแผนก

 

 

 

 

กระบวนการการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ถูกออกแบบให้อยู่ภายใน "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ไม่ต้องถูกส่งตัวไปตรวจหรือรักษาตามแผนกต่างๆ ร่วมกับคนไข้ทั่วไป

 

 

 

 

เพื่อให้มั่นใจว่าตัวอ่อนที่ได้รับการคัดเลือกนำไปฝังในโพรงมดลูกมีคุณภาพดี และลดโอกาสการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก ในขั้นตอนเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจึงได้มีการใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม ตรวจโครโมโซมเพื่อหาความผิดปกติของตัวอ่อนอย่างละเอียด ด้วยเครื่อง Next-generation sequencing (NGS) ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 60 - 70% 

 


    

 


เมื่อผู้เข้ารับบริการสามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จ "ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก" ของ "เมดพาร์ค" จะดูแลว่าที่คุณแม่ร่วมกับแพทย์แผนกต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางทารกแรกเกิดและปริกำเนิด กุมารแพทย์เฉพาะทางเวชบำบัดวิกฤต (NICU) กุมารแพทย์ และคลินิกนมแม่ เพื่อสนับสนุนให้ว่าที่คุณแม่และทารกน้อยมีสุขภาพดี สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานที่สุดเท่าที่ต้องการ

 

 

 

 

"เมดพาร์ค" มีนวัตกรรมความปลอดภัยในอาคารด้วยระบบแรงดันบวก (Positive Pressure) สามารถกรองฝุ่นละออง สารปนเปื้อน เชื้อโรค แบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้ไหลกลับเข้ามาภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความมั่นใจว่าทุกคนจะได้รับอากาศที่มีคุณภาพดีตลอดเวลาที่เข้ารับบริการภายในโรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

 

 

 

ห้องโถงส่วนกลางโรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

 

 

 

โรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

 

 

 

วัดอรุณราชวราราม

 

 

 

 

การแพทย์ที่ได้มาตราฐาน บวกกับจุดแข็งเชิงท่องเที่ยว การแก้ปัญหาอัตราการเกิดน้อย รวมถึงช่วยให้คู่รักมีลูกได้ตามความต้องการ การก้าวสู่ "ศูนย์กลางทางการแพทย์" ระดับโลกภายในปี 2570 คงไม่ไกลเกินเป้า

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ