Lifestyle

'อาหารติดคอ' เสี่ยงตาย เช็ก 3 ข้อ ห้ามทำเด็ดขาด โดยเฉพาะ เด็กทารก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'อาหารติดคอ' ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เช็ก 3 ข้อ ห้ามทำเด็ดขาด โดยเฉพาะกับ เด็กทารก พร้อมวิธีช่วยเหลือ-ปฐมพยาบาล ลดโอกาสตาย

จากข่าว หนุ่มวัย 27 ปี นั่งรับประทานชาบู จู่ๆ ช็อกหมดสติ ก่อนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล เบื้องต้นสาเหตุคาดว่าเกิดจาก “อาหารติดคอ” ซึ่งคำว่า อาหารติดคอ ฟังดูแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่า หาก อาหารติดคอ หรือ สำลักอาหาร นั้น เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลได้อย่างทันท่วงที

 

หากมีอาการเหมือนอาหารติดคอ ให้ลองสังเกตอาการดูว่า ยังสามารถไอ หรือพูดได้อยู่หรือไม่ หากยังไอหรือพูดได้ อาหารอาจไปอุดกั้นทางเดินหายใจบางส่วน แต่หากมีอาการหายใจไม่ออก พูดหรือร้องไม่มีเสียง มีอาการหน้าเขียว ปลายมือเท้าเขียว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือหากไม่แน่ใจวิธีปฐมพยาบาล ให้รีบแจ้งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669

อาหารติดคอ

อาหารติดคอ หากอยู่คนเดียว

 

  • ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจ
  • กำหมัดข้างหนึ่งวางตรงเหนือสะดือ
  • ใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ แล้วก้มหัวให้มือพาดขอบแข็งๆ เช่น พนักเก้าอี้ ขอบโต๊ะ เป็นต้น
  • ก้มตัวลงแรงๆ เพื่อกระแทกหมัดอัดเข้าท้องในลักษณะดันขึ้นข้างบน ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง จนกว่าอาหารที่ติดคอจะหลุดออกมา

 

วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย อาหารติดคอ ขอบคุณภาพ digitalmore

 

วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย อาหารติดคอ 

 

  • ผู้ใหญ่และเด็กโต ให้ใช้ "วิธีรัดท้องอัดยอดอก" หรือ "รัดอัดท้อง" โดยผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วย ใช้แขน 2 ข้างโอบรอบเอวผู้ป่วย
  • ผู้ช่วยเหลือกำหมัดข้างหนึ่งวางบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อยใต้ต่อกระดูกอ่อน "ลิ้นปี่" 
  • ผู้ช่วยเหลือใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้แล้ว ทำการอัดเข้าท้องแรงๆ เร็วๆ ขึ้นไปข้างบน (ทำคล้ายกับจะพยายามยกผู้ป่วยขึ้น)
  • อัดหมัดเข้าท้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ

วิธีช่วยเหลือ อาหารติดคอ

ช่วยเหลืออาหารติดคอ สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี 

 

  • จับทารกนอนควํ่าบนแขน ให้ศีรษะตํ่าลงเล็กน้อย
  • ใช้ฝ่ามือตบลงตรงกลางหลังของทารก (ระหว่างกลางของสะบัก 2 ข้าง) เร็วๆ 5 ครั้ง 
  • ถ้าไม่ได้ผล จับทารกนอนหงายบนแขนให้ศีรษะตํ่า แล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลาง วางบนกระดูกหน้าอกเหนือกระดูกลิ้นปี่ แล้วกดอกลง (สักครึ่งถึง 1 นิ้ว) เร็วๆ 5 ครั้ง 
  • ถ้าไม่ได้ผล ให้ทำการ "ตบหลัง" 5 ครั้ง สลับกับ "กดหน้าอก" 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุด หรือทารกหมดสติ

 

คำเตือนห้ามใช้วิธีรัดกระตุกที่หน้าท้องของเด็กทารกโดยเด็ดขาด, ห้ามใช้นิ้วมือล้วงช่องปาก หรือจับเด็กห้อยศีรษะ แล้วตบหลังเป็นอันขาด

 

ขอบคุณภาพจาก motharhood

การปฐมพยาบาลเมื่อหมดสติ

 

  • กรณีผู้ป่วยหมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
  • ให้จับผู้ป่วยนอนหงาย กดหน้าอกนวดหัวใจ ช่วยหายใจ เปิดปากนำสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • กรณีที่ผู้ป่วยไม่หายใจและไม่กระดุกกระดิกเลย ให้เป่าปากและนวดหัวใจแทน จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล (การนวดหัวใจโดยการ กดหน้าอก อาจช่วยให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาได้)

 

บทสรุป 

หากเกิดอาการอาหารติดคอ ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเอง ทารก หรือ คนรอบข้าง ควรใช้สติเป็นอันดับแรก ก่อนดำเนินการช่วยเหลือตามคำแนะนำ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย มีโอกาสรอดชีวิตได้สูง

 

 

ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล . www.doctor.or.th/

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ