Lifestyle

'นอนกี่โมงดีที่สุด' ขยับเวลาให้เหมาะสมลดอ่อนล้า อ่อนเพลีย จาก นอนไม่หลับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็กเวลา 'นอนกี่โมงดีที่สุด' ปรับเวลาให้เหมาะสมลดปัญหาอ่อนล้า อ่อนเพลีย จากการ นอนไม่หลับ ก่อนทำร่างกายพัง

การนอนเป็นเรื่องที่สำคัญกับร่างกายอย่างมาก เพราะการ นอนหลับที่ดีจะ ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดี เพราะการนอนจะช่วยฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ 

 

 

แต่ปัจจุบันพบว่าปัญหาการ นอนไม่หลับ นอนไม่พอ เป็นปัญหาที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่อย่างเลี่ยงไม่ได้ หลายคนมีภาวะนอนไม่หลับจนกระทบต่อร่างกาย แม้ว่าจะพยายามปรับเวลานอน ลดการทำกิจกรรมก่อนนอนลงแล้วก็ยังข่มตาหลับไม่ได้จนส่งผลกระทบมาถึงการใช้ชีวิตในช่วงเวลากลางวัน ช่วงทำงาน 

"นอนกี่โมงดีที่สุด" และไม่ทำร้ายร่างกาย รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยแพทย์แนะนำให้นอนในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 20.00-22.00 เริ่มง่วง ง่วงมากที่สุด 23.00-2.00 (การหลั่งของ melatonin) ตื่นเช้าถือว่าเป็นช่วงการนอนที่เหมาะสมสุด ส่วนการนอนในช่วงเวลา 4.00 – 12.00 ถือว่าเป็นช่วงเวลาการนอนที่ดึกจนเกินไป 

คน แต่ละวัยควรนอนกี่ชั่วโมง จึงจะพอดี และพอเหมาะกับร่างกาย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบ ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุไว้ ดังนี้

 

  • ทารกแรกเกิด (0-3เดือน) 14-17 ชม./วัน
  • เด็กทารก (4-11เดือน)     12-16 ชม./วัน
  • เด็กหัดเดิน (1-2ปี)          11-14 ชม./วัน
  • เด็กก่อนวัยเรียน (3-5ปี)   10-13 ชม./วัน
  • เด็กวัยเรียน (6-13ปี)        9-11 ชม./วัน
  • วัยรุ่น (14-17ปี)               8-10 ชม./วัน
  • ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ         7-9 ชม./วัน
  • สตรีมีครรภ์                      7-9 ชม./วัน

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม ในช่วง 5 ปีแรกการนอนหลับมีผลต่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ พัฒนาการ จิตสังคม การเจริญเติบโตของกระดูกและโครงสร้างต่างๆของร่างกาย

 

นอนกี่ชั่วโมง

 

คนละวัยต้องการจำนวนการนอนจะไม่เท่ากัน ชั่วโมงการนอนของเด็ก 11 – 13 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ 7 – 8 ชั่วโมง แม้ว่าจะนอนครบชั่วโมงที่เหมาะสม แต่หลายคนคงรู้สึกว่าร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย ซึ่งจะต้องกลับไปพิจารณาด้วยว่า การหลับอย่างมีคุณภาพมากเพียงใด โดยพบว่า การหลับที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องครบวงจรทุกระยะการหลับ ทั้งหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ให้ครบทุกระยะเพราะมีความสัมพันธ์กัน

 

นอนไม่พอ อาการ ที่พบได้บ่อย ๆ มักจะมีดังนี้  เช่น ง่วงและเพลียกลางวัน ประสิทธิภาพความคิดความจำลดลง ลืมง่าย กลางคืนหลับ ๆ ตื่น ๆ  

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการนอนไม่หลับถือว่า เป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ

 

ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  

logoline