Lifestyle

เตือนภัย โรค 'คาโรชิ ซินโดรม' หรือ 'ทำงานหนักจนตาย' ก่อนสายเกินแก้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อไม่กี่วันก่อนในบ้านเรามีเคสพนักงานเสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน ทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่าเข้าข่ายโรค 'คาโรชิ ซินโดรม' หรือ 'ทำงานหนักจนตาย' หรือไม่

“คาโรชิ ซินโดรม” (Karoshi Syndrome) หรือ “ทำงานหนักจนตาย” โรคที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยหรืออาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านี้มีหลายเคสเกิดขึ้นในประเทศที่ผู้คนเคร่งเครียดกับการทำงานอย่างที่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ แต่ล่าสุดในบ้านเรามีเคสพนักงานเสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน ทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่าเข้าข่ายโรค “คาโรชิ ซินโดรม” หรือไม่ วันนี้ คมชัดลึก ออนไลน์ จึงขออาสาพาไปทำความรู้จักกับโรคดังกล่าว ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเป็นแบบไหน และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวคุณเองและคนรอบข้าง

 

เตือนภัย โรค 'คาโรชิ ซินโดรม' หรือ 'ทำงานหนักจนตาย' ก่อนสายเกินแก้

 

โรค “คาโรชิ ซินโดรม” คือ อาการเหนื่อย หรือ อ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เสียสุขภาพ และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต เช่น หัวใจวาย เป็นต้น

 

คำว่า “คาโรชิ” มีจุดเริ่มต้นจากภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากในสังคมการทำงานของญี่ปุ่นจะต้องทุ่มเทให้กับการทำงานมาก จนบางครั้งการทุ่มเทที่มากเกินพอดี อาจส่งผลเสียต่อคนทำงาน จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากวัฒนธรรมในการทำงานของบริษัทในญี่ปุ่น ที่มีความจริงจัง จนก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไปจนร่างกายไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ การเร่งทำยอด การตั้ง KPI ที่สูงเกินกว่าจะสามารถเอื้อมถึง การกดดันจากผู้มีอำนาจในที่ทำงาน จนเกิดความเครียดและอาการเหนื่อยล้าสะสม เป็นต้น

 

เตือนภัย โรค 'คาโรชิ ซินโดรม' หรือ 'ทำงานหนักจนตาย' ก่อนสายเกินแก้

 

 

เช็คลิสต์ อาการโรค “คาโรชิ ซินโดรม” (Karoshi Syndrome)

 

  1. หมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา
  2. ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  3. เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  4. ไม่ค่อยได้ลางาน ไม่ว่าจะลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจ
  5. เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  6. นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลีย ฝันถึงเรื่องงานบ่อยๆ

 

อาการเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายเรื้อรังอื่นๆ WHO ระบุว่า ช่วงอายุ 45-74 ปี ที่ทำงานหนักจนเกินไป หรือมีชั่วโมงทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด คือ โรคหัวใจ 42% และเส้นเลือดในสมอง 19%

 

เตือนภัย โรค 'คาโรชิ ซินโดรม' หรือ 'ทำงานหนักจนตาย' ก่อนสายเกินแก้

 

การป้องกัน โรค “คาโรชิ ซินโดรม” (Karoshi Syndrome)

 

  • ทำงานล่วงหน้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ได้ 7-9 ชม. ต่อวัน หากมีปัญหานอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์
  • หาเวลาผ่อนคลายสมอง ด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำอาหาร ท่องเที่ยว
  • พบปะเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวเป็นระยะ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รู้จักการปล่อยวางความคิด
  • ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดเรื่องงานที่บ้านมากจนเกินไป

 

 

อ้างอิงจาก : msn, jobsdb

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ