Lifestyle

รักษา "โรคหัวใจ" แบบครบวงจร "รพ.บำรุงราษฎร์" ก้าวสู่ระดับ World Class

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยกระดับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน และต้องการการรักษาขั้นสูง พร้อมทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วนเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระดับแนวหน้า

ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วย "โรคหัวใจ" เป็นอันดับแรกของประเทศ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม ล้วนแล้วทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง หรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่างๆ ของร่างกาย "สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์" ถูกยกให้ระบบการรักษาที่ยอดเยี่ยมอยู่ในระดับ World Class ด้วยการบริหารและพัฒนาของ ศ. นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา ผู้ที่คลุกคลีและทำงานวงการนี้มากว่า 30 ปี ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารบำรุงราษฎร์ที่ต้องการเป็นผู้นำในการให้บริการสุขภาพระดับสากลในด้านการรักษาโรคหัวใจแก่ผู้ป่วยทั่วโลก

 

สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มุ่งเน้นการคัดสรรบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่เพียบพร้อม มีการรักษาที่ครอบคลุม ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ โดยเฉพาะสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน และต้องการการรักษาขั้นสูง ด้วยวิธีที่ปลอดภัย มีทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันแบบไร้รอยต่อ อาทิ อายุรแพทย์หัวใจ ศัลยแพทย์ทรวงอก แพทย์กายภาพบำบัด เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพ นักโภชนาการ ที่พร้อมดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ให้คำแนะนำทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการภาวะความเครียด เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่างๆ วินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนการรักษา ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาด้วยยา เทคนิคการรักษาใหม่ๆ การใช้เครื่องมือกระตุ้น หรือไปจนถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ 

 

มีการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรม เพื่อค้นหาความเสี่ยงก่อนเกิดโรคใน 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพองและปริแตก และโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการใช้ชีวิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมได้

นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังมีแผนก Cardiac Care Unit (CCU) ที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นวิกฤต และผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับมาทำงาน เล่นกีฬา มีครอบครัวและมีบุตรได้ เปรียบเสมือนได้ชีวิตใหม่กลับคืนมาอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ทำให้สถาบันโรคหัวใจของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก้าวสู่ระดับ World Class สามารถรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้อย่างดี 

 

ศ. นพ.กุลวี กล่าวถึงความสำเร็จของการวิจัยเพื่อหาแนวทางการรักษาใหม่ๆ รวมถึงใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อก้าวเป็นผู้นำให้บริการสุขภาพระดับสากล เป็นศูนย์กลางรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างครอบคลุม ปัจจุบัน เรานำแนวทางใหม่ๆ มารักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพได้จริง ทำให้มีหลายประเทศ ทั้งญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ให้ความสนใจและขอเข้ามาดูงานจริง ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของเรา

ศ. นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์

ตัวอย่าง   

-การวิจัยทำให้ทราบสาเหตุของการเกิด "โรคใหลตาย" ซึ่งเป็นผู้คิดค้นคนแรกในประเทศไทยและในโลก เราสามารถค้นพบว่า ต้องรักษาด้วยการจี้พังผืดบริเวณพื้นผิวของหัวใจห้องข้างล่างข้างขวา ซึ่งถือเป็นเรื่องยากมากที่จะวินิจฉัยพบความผิดปกติในส่วนนั้น 

-การนำนวัตกรรม CardioInsight เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและเป็นแห่งที่ 3 ของโลก และเป็นผู้ริเริ่มการรักษาหัวใจผิดจังหวะชนิดเรื้อรังและชนิดชั่วคราว โดยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง(CFAE ablation) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชีย

นวัตกรรม CadioInsight

 

แม้ความสำเร็จจะเกิดขึ้น แต่ ศ.นพ.กุลวี ยังมีแผนในปี 2566 ยังคงเดินหน้ามุ่งคัดสรรทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพกว่าที่มีอยู่ พัฒนางานวิจัยใหม่ๆ สรรหาโรงพยาบาลพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน และยึดมั่นรักษาผู้ป่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีที่สุด โดยมองว่าอนาคตอุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนหันมาใส่ใจบริการสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยหลายปัจจัย ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการยอมรับในการดูแลสุขภาพ 

"รพ.บำรุงราษฎร์" ก้าวสู่ระดับ World Class ด้วยการรักษา "โรคหัวใจ" แบบครบวงจร

 

นอกจากนี้ อีกการขับเคลื่อนที่สำคัญในอุตสาหกรรมการแพทย์ ก็คือ การนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ หรือ Digital Health ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การรวบรวมฐานข้อมูลผู้ป่วยขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย , ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติหรือตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น การตรวจสอบสัญญาณชีพจากระยะไกล การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากระยะไกล แอปพลิเคชันในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้ในเบื้องต้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเริ่มเห็นเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning เข้ามาวิเคราะห์สุขภาพในเชิงป้องกันจากการถอดรหัสพันธุกรรม ถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์มาก เพราะสามารถคาดการณ์โรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนับวันก็ยิ่งมีความแม่นยำมากขึ้น ทำให้แพทย์และผู้ป่วยได้วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวทางการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงรายละเอียดและข้อมูลที่สำคัญได้อย่างตรงไปตรงมา จากที่ใดเวลาใดก็ได้บนโลก ทำให้เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจในการรักษามากขึ้นอีกด้วย 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ