Lifestyle

หนุ่ม 18 "คัดจมูกข้างเดียว" เจอ มะเร็งโพรงจมูก เช็ค อาการ แบบไหน เสี่ยงเป็นสูง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนุ่ม 18 ช็อก "คัดจมูกข้างเดียว" ตรวจเจอ "มะเร็งโพรงจมูก" ประวัติ ไม่เคยสูบบุหรี่ เปิด อาการ และ สาเหตุ แบบไหน มีความเสี่ยงสูง

จากกรณีที่โลกโซเชียล มีการแชร์ข้อมูล พบเด็กหนุ่มชาวจีน อายุ 18 ปี ไม่เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ แต่มีอาการหูอื้อ คัดจมูก คลินิคหลายแห่งที่เขาไปหา ระบุว่า เป็นหวัดธรรมดาปกติ แต่เมื่อมีการตรวจซ้ำ แพทย์วินิจฉัยพบว่า เขาเป็น "มะเร็งโพรงจมูก" ซึ่งจากข้อมูล มะเร็งโพรงจมูก พบได้บ่อยในคนเอเชีย และแทบจะเป็นมะเร็งเฉพาะคนเอเชียเท่านั้น โดยเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม แต่ปัจจัยเสี่ยงหลัก จะมาจากนิสัยการกิน และการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มต้นของมะเร็งโพรงจมูกไม่ชัดเจน คนส่วนใหญ่มักคิดว่า "เลือดกำเดาไหลง่าย" จริง ๆ แล้วเป็นอาการ "คัดจมูกข้างเดียว" มากกว่า 

"มะเร็งโพรงจมูก" จะเกิดบริเวณหลังโพรงจมูก โดยโพรงจมูกจะมีลักษณะเป็นโพรงกว้าง อยู่ทางด้านหลังของจมูก เป็นทางผ่านของอากาศไปยังผนังคอ ตำแหน่งนี้จะมีสารบางอย่างไหลผ่านเข้าไปได้ง่าย เช่น ควันบุหรี่ ควันพิษต่าง ๆ หรือสารที่เกิดจากการเผาไหม้และอาจเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองบริเวณดังกล่าวได้ง่าย อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัด มักมีอาการไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล ทำให้เข้าใจผิดบ่อยครั้ง

 

 

อาการ ของ มะเร็งโพรงจมูก

 

อาการทั่วไปที่พบได้บ่อย คือ คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลข้างเดียว แม้จะไม่ได้เป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้ อาการจะคงอยู่เป็นเวลานาน และแย่ลงเรื่อย ๆ โดยระยะแรกจะมีอาการหูอื้อข้างเดียว ชาที่บริเวณใบหน้าบางส่วน และมีก้อนนูนอยู่ตรงต้นคอใต้ติ่งหู เรียกส่วนนี้ว่าลำคอด้านนอกส่วนบน บางครั้งมีเลือดกำเดาไหล และคัดจมูกข้างเดียว หรือบางครั้งเห็นภาพซ้อน โดยทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นอาการเริ่มแรกของมะเร็งโพรงจมูก ซึ่งแตกต่างจากไข้หวัดทั่วไป หากมีอาการเหล่านี้ นอกเหนือจากไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล ควรรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะในคนที่มีอาการบวมมากขึ้น เลือดกำเดาไหลมากขึ้น หูอื้อมากขึ้น ปวดหู และเกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
เลือดกำเดาไหล อาการเริ่มต้น มะเร็งโพรงจมูก

อาการอื่น ๆ ของมะเร็งโพรงจมูก 

 

  • น้ำมูกไหล หรือระบายจากด้านหลังของจมูกเข้าไปในลำคอ
  • มีลักษณะของก้อนแข็งบนใบหน้า เพดานปากหรือภายในจมูก
  • ปวดหัวและปวดโพรงอากาศข้างจมูก
  • ปวด หรือรู้สึกหูอื้อข้างใดข้างหนึ่ง
  • ปวดบริเวณเหนือดวงตาหรือใต้ดวงตา
  • ตาแฉะมากจนน้ำตาไหลลงมาถึงแก้ม
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งโป่งนูน
  • ชา ปวดและบวมบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะแก้มส่วนบน
  • มีปัญหาเวลาอ้าปาก
  • ฟันบนโยกหรือชา หรือความพอดีของการใส่ฟันปลอมแปลกไปจากเดิม
  • ลักษณะการพูดเปลี่ยนไปจากเดิม
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรอบคอบวม
  • สูญเสียการได้ยินหรือการได้กลิ่น

 

สาเหตุของมะเร็งโพรงจมูก

 

มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ในโพรงจมูก และโพรงอากาศข้างจมูกเกิดความผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่การยืนยันแน่ชัดว่า
สาเหตุของมะเร็งโพรงจมูกคืออะไร ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งโพรงจมูกได้มีหลายประการ เช่น การสัมผัส หรือสูดดมสารเคมีที่ส่งผลให้เซลล์พัฒนาเป็นมะเร็งได้ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้รับการยืนยันทางข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคมีดังนี้

 

  • ฝุ่นไม้หรือขี้เลื่อย
  • ฝุ่นหนัง
  • บุหรี่
  • ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์
  • สารประกอบนิกเกิล

คัดจมูกข้างเดียว เสี่ยง มะเร็งโพรงจมูก

 

มะเร็งโพรงจมูกอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีความเป็นไปได้ เช่น

 

  • ฟอร์มาดีไฮด์
  • โครเมียม
  • ฝุ่นจากสิ่งทอ

 

การรักษามะเร็งโพรงจมูก

 

การผ่าตัด : การผ่าตัดมะเร็งโพรงจมูก ทำได้ทั้งผ่าตัดแบบเปิด และผ่าตัดส่องกล้อง มักทำในกรณีที่เนื้องอกอยู่ในระยะแรก ๆ ยังกระจายตัวไมมาก แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพื่อลดอาการปวด หรืออาการต่าง ๆ โดยกำจัดเนื้องอกที่ขัดบริเวณโพรงจมูก และโพรงอากาศของจมูกออก รวมไปถึงการกำจัดเอาเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบ ๆ ออกไปด้วยในบางกรณี

 

การบำบัดด้วยรังสี (Radiation Therapy) : เป็นการรักษาโดยใช้รังสีพลังงานสูงในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ลดขนาดเนื้องอกก่อนการผ่าตัด หรือทำลายเนื้องอกเล็กน้อยที่อาจหลงเหลือหลังจากการผ่าตัด

 

การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) : ใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากการกลับมาของมะเร็งหลังผ่าตัดโดยการลดขนาดหรือชะลอการเติบโตของเนื้องอก

 

 

การป้องกันมะเร็งโพรงจมูก

 

ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันมะเร็งโพรงจมูกได้ทั้งหมด วิธีป้องกันเบื้องต้นคือ พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เป็นต้น แต่หากต้องทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์ หรือตู้ไม้ หรือสถานที่ทำงานอื่น ๆ ที่อาจมีการสัมผัสหรือสูดดมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ถึงแม้ในปัจจุบันสถานที่ทำงานหลาย ๆ แห่ง เริ่มมีมาตรการความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยก็ควรหาแนวทางป้องกันตัวเอง ลดโอกาสในการสัมผัส หรือสูดดมอันตรายเหล่านี้ให้มากที่สุด

 

 

 

 

ที่มา : ettoday

ขอบคุณข้อมูล : พบแพทย์

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ