ไลฟ์สไตล์

5 วิธี ง่าย ๆ บอกลา "โรคกรดไหลย้อน" รีบทำก่อนกลายเป็นเรื้อรัง

10 ต.ค. 2565

ใครกำลังเบื่อกับอาการ "กรดไหลย้อน" ที่ทำให้เรารู้สีกทรมานทุกครั้ง ที่เกิดอาการขึ้นมา ลองทำตาม 5 วิธีง่ายๆ เริ่มจากตัวเราเพื่อโบกมือลากับเจ้าโรคที่กวนอกกวนใจกัน อย่าชะล่าใจกันกลายเป็นอาการเรื้อรัง

"กรดไหลย้อน" โรคที่เกิดจากภาวะน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อน บริเวณลิ้นปี่ ขึ้นมาที่ บริเวณหน้าอก และคอ และ จะเป็นมากหลังจากรับประทานอาหาร  ซึ่งสามารถพบได้กับคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ที่มีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น ทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว เข้านอนทันทีหลังทานอาหาร 
 

5 วิธี ง่าย ๆ บอกลา "โรคกรดไหลย้อน" รีบทำก่อนกลายเป็นเรื้อรัง

 

 


สำหรับสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดจากอะไรได้บ้าง 

1. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวบ่อย 

2. ความรับรู้ความรู้สึกของหลอดอาหารไวกว่าปกติ

3.เกิดความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือ หลอดอาหาร

4. ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร 

5. พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต 

 

โดยอาการที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

- รู้สึก แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย

- เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ 

- มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก 

- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร

- มีอาการ หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ

 

 

 

5 วิธี ง่าย ๆ บอกลา "โรคกรดไหลย้อน" รีบทำก่อนกลายเป็นเรื้อรัง

 


สำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ลองมาปรับพฤติกรรมของตัวเอง กับ 5 วิธีง่าย ๆ เพื่อบอกลา โรคกรดไหลย้อน ดังนี้ 

1. เลี่ยงการทานอาการครั้งละมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดแรงดัน ที่หูรูดกระเพาะอาหาร ให้ทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ 

2. เลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่นอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว  เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม 

3. ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในคนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งหากน้ำหนักตัวลดลง ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลง 

4.เลี่ยงการออกกำลังกายหนัก หลังจากการทานอาหารภายใน 2-3 ชั่วโมง 

5.เลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร โดยคนรออย่างน้อย 3- 4 ชั่วโมง  หรือหากต้องนอน ควรหนุนหมอนสูง ไม่ควรนอนราบ 


สำหรับผู้ป่วย โรคกรดไหลย้อน ควรต้องรีบปรับพฤติกรรมของตัวเรา หากปล่อยเนิ่นนานจนเป็นเรื้อรัง อาจส่งผลให้หลอดอาหารมีแผล หรือหลอดอาหารตีบ ทำให้กลืนติด กลืนลำบาก หรือบางคนร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งที่หลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลาย สัมผัสกับกรดมากเกินไป ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งได้
 

 

 

 


ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
 

 

ขอบคุณข้อมูล  โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์