Lifestyle

รู้จัก "ตากุ้งยิง" เป็นได้แม้ไม่ได้แอบดูใคร รักษา หายไวได้ด้วยตนเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก "ตากุ้งยิง" เป็นได้แม้ไม่ได้แอบดูใครอาบน้ำ เผยสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีการรักษาให้หายไวได้ด้วยตนเอง

โรคตากุ้งยิง (Hordeolum) นับว่าเป็นโรค ดวงตา สามัญที่คนส่วนใหญ่ต้องเคยเป็นสักครั้งหนึ่ง ซึ่งในขณะที่เป็น มักจะสร้างความรำคาญใจ และลดทอนความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน "ตากุ้งยิง" คือ การอักเสบของต่อมไขมันที่เกิดบริเวณ เปลือกตา ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่มีตุ่มแดงนูนขึ้นที่ เปลือกตา มักจะมีอาการปวดร่วมด้วย ในบางคนอาจจะมีอาการ ตาแดง หรือ น้ำตาไหล


 

"ตากุ้งยิง" เกิดจากอะไร

"ตากุ้งยิง" ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้บนผิวหนังของคนปกติอยู่แล้ว ในภาวะปกติ เชื้อนี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคอะไร แต่ถ้าหากเชื้อนี้เข้าไปสู่ภายใต้ผิวหนัง จะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของ ตุ่ม ฝี หนอง รวมถึง ตากุ้งยิง

 

ตากุ้งยิง

 

ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิด "ตากุ้งยิง" 

  • สัมผัส ดวงตา ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การใส่คอนแทคเลนส์
  • โรค เปลือกตา อักเสบ
  • ใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาดหรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
  • เคยมีประวัติเป็น "ตากุ้งยิง" มาก่อน
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เช่น เป็นโรคเบาหวาน

 

สัมผัสดวงตา

 

อาการของ "ตากุ้งยิง"

  • เจ็บ ๆ คัน ๆ บริเวณ เปลือกตา
  • ปวด บวม แดง บริเวณ เปลือกตา
  • เป็นฝีหรือหัวหนอง 4 – 5 วัน

"ตากุ้งยิง" แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. "ตากุ้งยิง" ชนิดหัวผุด (ภายนอก) มีหัวฝีผุดชัดเจนบริเวณขอบเปลือกตาด้านนอก มักจะมีขนาดใหญ่ และหัวฝีจะชี้ออกด้านนอก
  2. "ตากุ้งยิง" ชนิดหัวหลบใน (ภายใน) มีตุ่มบวม หัวฝีเกิดขึ้นด้านในเปลือกตา หัวฝีจะชี้เข้าด้านใน

 

ตากุ้งยิง

 

วิธีรักษา "ตากุ้งยิง"

  • การรักษาในเบื้องต้นสามารถรักษาด้วยตนเองได้โดยการ
  • ประคบอุ่นที่เปลือกตาโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นประคบประมาณ 5-10 นาที วันละ 3-5 ครั้ง
  • ล้างมือล้างหน้าให้สะอาด 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่อักเสบ
  • หากทำตามวิธีด้านบนจะช่วยทำให้ระบายหัวหนองออกมาได้เร็วมากยิ่งขึ้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะเป็นตากุ้งยิงประมาณ 4-5 วัน
  • หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ปวด หรือ บวมแดงมากขึ้น หรือมีอาการตาพร่ามัวควรรีบเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยจักษุแพทย์อาจจะใช้เข็มเจาะตุ่มหนองเพื่อระบายออกมา และอาจให้ยาปฎิชีวนะกับผู้ป่วยเพื่อรักษาให้หายได้ไวขึ้น

 

หยอดตา

 

ประตบอุ่นที่ตา

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote   https://www.komchadluek.net/entertainment/524524

 

logoline