ไลฟ์สไตล์

เคยเห็นไหม "จักจั่นงวงกะเหรี่ยง" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี "งวง"

04 ก.ย. 2567

เคยเห็นไหม "จักจั่นงวงกะเหรี่ยง" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี "งวง" โดยในประเทศไทยจากการสำรวจธรรมชาติพบจักจั่นงวง 7 สกุล 30 ชนิด ชอบเกาะตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้นพืช มาทำความรู้จักเจ้าโฉมงามให้มากขึ้นกันเถอะ

จักจั่นงวงกะเหรี่ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝑷𝒚𝒓𝒐𝒑𝒔 𝒌𝒂𝒓𝒆𝒏𝒊𝒂 เมื่อจักจั่นงวงถึงวัยเจริญพันธุ์ ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียในภาพจักจั่นงวงกะเหรี่ยงกำลังผสมพันธุ์ซึ่งการผสมพันธุ์และการวางไข่ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณพืชอาหาร หลังฟักจากไข่ ตัวอ่อนจะทิ้งตัวร่วงลงสู่พื้นดิน และขุดลงไปอาศัยอยู่ใต้ดิน เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืชเป็นอาหาร

 

เคยเห็นไหม \"จักจั่นงวงกะเหรี่ยง\" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี \"งวง\"

 

ทั่วโลกพบแล้วกว่า 670 ชนิด เอเชียและออสเตรเลียพบแล้วกว่า 236 ชนิด ในประเทศไทย พบจักจั่นงวง 7สกุล 30 ชนิด จากการสำรวจธรรมชาติ ยังพบว่าจักจั่นงวงมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น แมลงสาบ หรือแม้แต่จิ้งจก ซึ่งจะมากินของเสียที่จักจั่นงวงขับถ่ายออกมา

 

เคยเห็นไหม \"จักจั่นงวงกะเหรี่ยง\" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี \"งวง\"

ชื่อไทย : จักจั่นงวงกะเหรี่ยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pyrops karenia
วงศ์ : Fulgoridae

ลักษณะทั่วไป : มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับจักจั่นงวงแดง โดยมีส่วนที่ยื่นยาวและโค้งบนหัวมีสีแดงจุดขาว ปีกคู่หน้ามีสีเขียวดำ มีลายขาวแต้มเหลืองพาดเป็น 3 แถว ส่วนปลายของปีกจะมีจุดสีเหลืองบนพื้นลายเขียวดำแต้มขาว ซึ่งจะมีความถี่กว่าช่วงฌคนปีก ส่วนปีกคู่หลังจะมีสีฟ้า โคนขาวสีน้ำตาล ปลายขาดำ ท้องขาว

พฤติกรรม : ชอบเกาะตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้นพืช

ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ
เขตกระจายพันธุ์ : ทุกภาค

 

 

เคยเห็นไหม \"จักจั่นงวงกะเหรี่ยง\" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี \"งวง\"

 

เคยเห็นไหม \"จักจั่นงวงกะเหรี่ยง\" สีสันสดใส ไม่ใช่ช้างแต่มี \"งวง\"

 

 

ภาพจาก Sarawut Plongnui

ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)