ไลฟ์สไตล์

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

ต้อนรับสู่ Pride Month เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียม มาเปิดมุมมอง ความคิดเห็น ของเหล่า LGBTQIA+ คนดังในแวดวงสังคมในวันที่ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ของไทยใกล้เป็นจริง

 

มีคู่รักเพศหลากหลายต้องการจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต เริ่มมีการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียม ซึ่งในปีนี้ยังมีเรื่องที่น่ายินดีคือ สภาฯ ผ่านฉลุยร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …หรือ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ถือเป็นการเริ่มต้นของความเท่าเทียมทางกฎหมายให้เกิดขึ้นกับประชาชนทุกเพศ

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

 

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้ทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และจะมีสถานะเป็น "คู่สมรส" แทนคำว่า "สามีภริยา" แต่ปิดทางเพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" จะเป็นก้าวแรกที่ทุกคนจะได้ใช้กฎหมายที่มีความเสมอภาคกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQIA+   การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

และในส่วน LGBTQIA+ คนดังในแวดวงสังคมในวันที่ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ของไทยใกล้เป็นจริง ก็มีมุมมองความคิดเห็น  พร้อมร่วมยินดีหลังจาก สภาผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งอีกไม่นานนักก็ใกล้เป็นจริง อย่าง ปีใหม่ ศรุดา ปัญญาคำ เจ้าของมงกุฎ Miss Tiffany’s Universe 2024 และ  หมอบรูซ คชิสรา ศรีดาโคตร  รองชนะเลิศอันดับ 1 ก็ออกมาเดินหน้าพร้อมแคมเปญเพื่อความเท่าเทียมในสังคม โดยเสนอให้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ซึ่งในขณะนี้กำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอให้เปลี่ยนแปลงกฎหมาย โดยสาระสำคัญคือ กำหนดผู้ที่ผ่านการแปลงเพศแล้ว สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านาม จากคำว่านายเป็นนางสาวได้ พร้อมให้นายทะเบียนจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่ทันที กำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่ตามเพศที่แปลง และยังสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

 

ปีใหม่ ศรุดา ปัญญาคำ เจ้าของมงกุฎ Miss Tiffany’s Universe 2024 และ  หมอบรูซ คชิสรา ศรีดาโคตร  รองชนะเลิศอันดับ 1

 

ทางด้านของคู่รักเซเลบริตี้ อย่าง คุณ พอล วสวัตติ์ วัฒนาศิริสมบัติ และ นพ.ปรัชญ์ พึ่งเจษฎา  เนชันแนล ไดเร็คเตอร์ ผู้ถือลิขสิทธิ์การประกวด มิส แอนด์ มิสเตอร์ ซูปร้าเนชันแนล ไทยแลนด์ 2024 ก็ออกมาเผยมุมมองความสำคัญของ กฎหมายสมรสเท่าเทียม เอาไว้ว่า..... ในกลุ่มของ LGBTQIA+ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบัน มีคู่รักเพศเดียวกันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจำนวนมาก แต่ยังขาดเครื่องมือทางกฎหมายดูแลความสัมพันธ์แบบครอบครัว เช่น สิทธิในการตัดสินใจในการรักษาพยาบาล สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน และสิทธิในการรับมรดก

 

คุณ พอล วสวัตติ์ วัฒนาศิริสมบัติ และ นพ.ปรัชญ์ พึ่งเจษฎา 

 

ทั้งนี้ยังรวมถึงการที่สังคมจะยอมรับเพศทางเลือกมากเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับหน้าที่ในสังคม การรับเข้าทำงานในสาขาวิชาชีพต่างๆ หากจะพูดกันในหลักความจริงตอนนี้สังคมก็ให้การยอมรับเพศทางเลือกเพิ่มขึ้นเข้าใจเรามากเพิ่มขึ้น กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ ในที่ทำงานหลายประเทศ รวมทั้งในไทยยังคงถูกจำกัดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการหางาน และการทำงาน นับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อความเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามก็ขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ด้วย

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

 

และอีกหนึ่งบุคคลของวงการบันเทิง ที่ทำมาแล้วทุกบทบาท ผู้จัดการดารา นักแสดง ผู้กำกับฯ ผู้จัดฯ ละครและซีรี่ส์สำหรับ ดร.วโรดม ศิริสุข หรือ ชายแฮ็คส์ ที่ได้รับตั้งแต่งเป็นตัวแทนประชาชนนั่งเก้าอี้ กมธ. กรรมาธิการวิสามัญ ร่างพิจารณากฏหมาย สมรสเท่าเทียม 1 ใน 13 คนภาคประชาชน  มาในอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญ ทางด้านสร้างประโยชน์เพื่อการเมือง ในการได้รับตำแหน่งกรรมมาธิการ ร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียม โดย ดร.ชายแฮ็คส์ เผยความรู้สึกว่า  "ดีใจมากครับ ที่วันนี้เรามาถึงอีกจุดหนึ่งกับบทบาทใหม่ๆ ที่ทำเพื่อสังคม และได้ทำอะไรให้กับพี่ๆ น้องๆเพื่อนๆ กลุ่ม LGBTQIA+ " 

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

 

ความสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในมุมของ  ชายแฮ็คส์   ถือว่ามีความสำคัญมากครับต่อการใช้ชีวิต เพราะในยุคปัจจุบันนี้ คุณภาพของบุคคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำว่าเพศ ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในแง่ของกฏหมาย โดยไม่แบ่งแยก หญิงชาย  และในฐานที่เป็นที่ปรึกษา กมธ.สมรสเท่าเทียม มุมมองการวางแผนการขับเคลื่อน ในอนาคต

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

 

กฏหมายสมรสเท่าเทียมนี้เป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคน มีสิทธิเท่าเทียมกันจริงๆ ในแง่ของการได้สิทธิ ของคู่สมรส เหมือนกับ ชายหญิง ที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยในมุมมองส่วนตัวสังคมไทยในยุคปัจุบันกับ LGBTQIA+  นั้นเปิดกว้างขึ้นมากเลยครับ ทุกสังคม ให้การยอมรับ เพราะทุกวันนี้ การทำงาน การเรียนการศึกษา จะมองเรื่องของเพศสภาพ เป็นเรื่องของบุคคล ไม่ได้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน หรือการเรียนก็ตาม เมื่อสังคมยอมรับมากขึ้นความชัดเจนในการใช้ชีวิตก็จะชัดเจนขึ้นเช่นกัน ทำให้กล้าคิดกล้าทำกล้าตัดสินใจ โดยไม่ได้แอบซุกซ่อนหรือสร้างปัญหาต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว 

 

เปิดมุมมองคนดัง LGBTQIA+ ในวันที่ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของไทยใกล้เป็นจริง 

 

ข่าวยอดนิยม