Lifestyle

เห็ดขี้ควาย อันตรายแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

รู้จักให้ลึกขึ้นกับ "เห็ดขี้ควาย" หรือ โอสถลวงจิต เจ้าเห็ดชนิดอันตรายแค่ไหน? มีประโยชน์อย่างไร? ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

 

"เห็ดขี้ควาย"  ได้รับความสนใจจากสังคมอีกครั้งหลังจากที่หนุ่มวัย 27 ปี ถูกจับกุม เนื่องจาก  ลักลอบเพาะปลูกและจำหน่าย เห็ดขี้ควาย หรือ โอสถลวงจิต ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ผ่านทางออนไลน์และส่งให้ลูกค้าผ่านทางพัสดุเอกชน  

โดยผู้ต้องหาให้การว่า ว่าปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพ โดยผู้ต้องหาจบการศึกษาชั้นปริญญาตรี สาขาไอที เนื่องจากว่าตนต้องทำงานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้จินตนาในการคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ต้องหาจึงเริ่มศึกษาการใช้เห็ดขี้ควายจากยูทูปและเวปไซต์จากต่างประเทศ เพื่ออยากเปิดประสาทในส่วนสมอง ให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นต่อมาจึงพัฒนาเริ่มทำการศึกษาเพาะพันธุ์เห็ดขี้ควาย ด้วยตนเอง และเริ่มจำหน่ายโดย ราคาจำหน่ายกรัมละ 100 บาท ในการจำหน่ายในแต่ละเดือน มีรายได้ร่วมแสนบาท  

 

เห็ดขี้ควาย อันตรายแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

 

เห็ดขี้ควายคืออะไร?

เห็ดขี้ควายเกิดจากการย่อยสลายของมูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยเฉพาะมูลวัว และควาย ส่วนที่เป็นพิษคือเนื้อเยื่อทั้งหมดของดอกเห็ด โดยมีสารพิษคือ ซิโลไซบิน (Psilocybin) และซิโลซีน (Psilocin) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการหลอนฝัน มึนเมาและเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษต่อตับและไต

 

เห็ดขี้ควาย อันตรายแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

 

ที่ได้ชื่อว่าเห็ดขี้ควายเพราะมักจะพบได้ตามกองขี้ควายแห้ง มีลักษณะทางกายภาพ คือ หมวกดอกมีสีเหลืองปนน้ำตาล ทั้งดอกมีสีอ่อน แต่กลางหมวกดอกมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่นๆ ใต้หมวกดอกมีลักษณะเป็นครีบ สีน้ำตาลดำ บริเวณก้านดอกมีวงแหวนปรากฏอยู่ เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดที่กินได้ ซึ่งในอดีตที่ยังไม่ถูกจัดให้เป็นยาเสพติดก็เคยมีการนำมาปรุงอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ บางพื้นที่ก็นำมาทาเกลือปิ้งกินได้เช่นกัน

 

เห็ดขี้ควาย อันตรายแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

 

ในตำราแพทย์แผนไทย เห็ดขี้ควาย ช่วยเรื่องสุขภาพได้

"มูลนิธิสุขภาพไทย" ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ไว้ว่า ในตำรายาไทยที่เรียกกันว่า สุขไสยาสน์ (ศุขไสยาสน์) กล่าวว่า เห็ดขี้ควายมีรสเบื่อเมา มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด แก้นอนไม่หลับ แก้พิษไข้ร้อน กระสับกระส่าย หมอไทยใช้เห็ดขี้ควายเป็นยาทำให้ง่วงหรือยานอนหลับ จึงเรียกยานี้ว่ายาสุขไสยาสน์ แต่ถ้าใครกินหรือสูบเข้าไปจำนวนมากจะทำให้มีอาการมึนเมา ประสาทหลอน

 

บางคนนำเห็ดขี้ควายมาทำเป็นเห็ดเมา เนื่องจากในเห็ดขี้ควายมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและสร้างอาการประสาทหลอน เมื่อรับประทานสารเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการมึนเมา ประสาทหลอน มีภาพหลอน ได้ยินเสียงแปลกๆ โดยอาการจะเริ่มหลังจากรับประทานประมาณ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง และอาจคงอยู่นานถึง 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม การรับประทานเห็ดเมาเป็นเรื่องอันตรายและผิดกฎหมาย

 

นอกจากอาการมึนเมาและประสาทหลอนแล้ว ผู้รับประทานยังอาจประสบกับอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น อ้วก คลื่นไส้ อาเจียน ชัก กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในกรณีที่รับประทานเห็ดปนกับสารอื่นๆ

 

เห็ดขี้ควาย อันตรายแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ใครมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมายนะ

 

 

“เห็ดขี้ควาย” ถูกจดสิทธิบัตรรักษา "โรคซึมเศร้า" แต่ผิดกฎหมายในประเทศไทย 

"เห็ดขี้ควาย" หรือ magic mushroom มีสารสกัดสำคัญต้านอาการซึมเศร้าได้ เรียกว่า ซิโลซายบิน (Psilocybin) จากการทดลองกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพบว่ามีฤทธิ์ช่วยกล่อมประสาท นอกจากนี้ในวารสาร Jama Psychiatry  ได้ออกมาเผยแพร่งานวิจัยเผยว่าไซโลไซบิน สารในกลุ่มเห็ดขี้ควาย ช่วยรักษาพิษสุราเรื้อรังได้อีกด้วย 

 

แต่ในไทยยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 -15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท ผู้เสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แม้ว่าในต่างประเทศ เห็ดวิเศษหรือเห็ดขี้ควายจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแพทย์ทางเลือกที่มีสรรพคุณสำคัญต่อคนทั้งโลก แต่หากเทียบเห็ดขี้ควายกับกัญชายังมีความแตกต่าง เพราะทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้กัญชามามากกว่าเห็ดขี้ควาย รวมทั้งผลวิจัยทางการแพทย์พบว่ากัญชาช่วยบรรเทาอาการคนไข้กลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า แต่ว่าสำหรับประเทศไทยก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะมีใครที่ให้ความสำคัญกับเห็ดชนิดนี้บ้าง ซึ่งในอนาคตคงจะเป็นเรื่องยากที่เห็ดขี้ควายจะปลดล็อกได้เหมือนกัญชา เนื่องในขณะนี้ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มีคำสั่งแก้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้นำกัญชากลับสู่บัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 และให้ออกกฎกระทรวงอนุญาตให้นำกัญชาไปใช้ประโยชน์เฉพาะทางการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิงที่มา ch9airport  /กองควบคุมวัตถุเสพติด คณะกรรมการองค์การอาหารและยา (อย.)

ข่าวยอดนิยม