สืบลำดับ 'เจ้าพระยาอภัยภูเบศร' ต้นตระกูล อภัยวงศ์ 'พิธา' ลูกหลาน?
เปิดประวัติ 'เจ้าพระยาอภัยภูเบศร' ต้นตำรับ สมุนไพร ชื่อดัง สืบ ต้นตระกูล 'อภัยวงศ์' พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลูกหลาน หรือไม่
กำลังเป็นดราม่าร้อน หลังมีชาวเน็ตมือดี ขุดภาพ บ้าน “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร” ต้นตระกูลอภัยวงศ์ ที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เคยโพสต์ไว้เมื่อ 9 ปีก่อน ระบุว่า เป็นบ้านเก่าของคุณยาย ที่เคยอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียล รวมทั้ง ลูกหลานคนตระกูลอภัยวงศ์ ก็ชี้แจงว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ “พิธา”
ประวัติ “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร”
หากย้อนกลับไปเมื่อ 163 ปีที่แล้ว “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร” มีนามเดิมว่า ชุ่ม อภัยวงศ์ ถือกำเนิด ที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) บิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาราชการในสำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นข้าราชการกรมมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายรองเล่ห์อาวุธ รองหุ้มแพรมหาดเล็ก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอภัยพิทักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเจ้าเมืองพระตะบอง อยู่กับเจ้าคุณบิดา
ปี 2450 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตัดสินใจทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ อพยพครอบครัว จากพระตะบอง มาเป็นข้าราชการธรรมดาอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรี ทั้งที่ฝรั่งเศสชวนให้ปกครองเมืองพระตะบองต่อ และในปี 2460 ได้ทรงพระมหากรุณา พระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า “อภัยวงศ์”
หลังจากนั้น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ได้บำเพ็ญประโยชน์ให้ประเทศชาติและ จ.ปราจีนบุรีมากมาย เช่น บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน รวมทั้งโรงพยาบาลอภัยภูเบศร และที่สำคัญ คือได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแก้วพิจิตร ที่เมืองปราจีนบุรี โดยเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและออกแบบเอง และนับเป็นวัดประจำสกุล “อภัยวงศ์”
และด้วย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชอบทำอาหารรับประทานด้วยตนเอง โดยส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร จนกลายเป็นตำรับตกทอดมายังลูกหลานภายในตระกูล และกิจการใน “โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร” จนถึงปัจจุบัน
สืบลำดับ “อภัยวงศ์” จาก “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์”
บุตร - ธิดา ที่เกิดแต่ คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์ (ภริยาเอก)
- หม่อมเชื่อม กฤดากร ณ อยุธยา (ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
- คุณหญิงรื่น กัลยาณวัฒนวิศิษฏ์ สมรสกับ พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)
- พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) พระชนกในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
- พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ์ (ช่วง อภัยวงศ์)
นอกจากนั้น จากการสืบลำดับ พบว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยังมีหม่อมอีกกว่า 20 คน บุตร และธิดา อีกกว่า 35 คน เท่าที่สามารถหาได้ แต่บุตรที่มีความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย อาทิ ควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิท อภัยวงศ์) นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากหม่อมรอด
ส่วน นายเกษม อภัยวงศ์ บุตรที่เกิดจากหม่อมละม้าย สมรสกับ อนุศรี อนุรัฐนฤผดุง (ยายของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาได้หย่าร้างกัน นายเกษมสมรสใหม่กับ เฉลิมศรี โยฐาพยัคฆ์ษะ ส่วน อนุศรี สมรสใหม่กับคุณตาของพิธา
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ส่วนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่พระตะบอง จากข้อมูลประวัติการสร้างตึก ระบุไว้ว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นเมื่อปี 2447 ตั้งในพื้นที่ย่านอาคารราชการดั้งเดิมของเมืองพะตะบอง และถูกเรียกให้เป็น “ตึกแฝดพี่” ของตึก “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร” ที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ก่อสร้างเมื่อปี 2452
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี เป็นงานสถาปัตกรรมยุโรปยุคบาโรก ออกแบบและก่อสร้าง โดยบริษัทโฮวาร์เออร์สกิน เป็นตึกเดี่ยว 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องลอนเล็ก กลางหลังคาสร้างเป็นรูปโดม เหนือยอดโดมมีเครื่องบอกทิศทางรูปไก่ ทำด้วยโลหะ ด้านหน้ามีมุขยื่นออกมา และมีระเบียงดาดฟ้า
ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย