Lifestyle

เรื่องต้องรู้ 'ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง' 3 นาที จริงหรือไม่ มีคำตอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขข้อข้องใจ คนใช้ รถ 'ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง' 3 นาที จริงหรือไม่ 'ควรปิดแอร์ก่อนดับเครื่องไหม' ที่นี่มีคำตอบ

“ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง” ก่อนถึงที่หมาย 3 นาที เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เชื่อว่า คนขับรถหลายคน น่าจะมีคำถามเกิดขึ้น เกี่ยวกับ “แอร์รถยนต์” เพราะข้อมูลจากหลากหลายที่ไม่ตรงกัน แล้วข้อสรุป ควรปิดแอร์ก่อนดับเครื่องไหม มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไปหาคำตอบกัน

ปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง

ควรปิดแอร์ก่อนดับเครื่องไหม

 

 

ตามหลักแล้วการ “ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง” หรือไม่ปิดก่อนดับเครื่องยนต์ ไม่มีแบบไหนผิด เพราะในรถยนต์ยุคปัจจุบัน การทำงานของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาให้มีระบบตัดต่อไฟ โดยจะแยกการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระหว่างการสตาร์ตรถ ทำให้ไม่เกิดไฟกระชาก และสร้างความเสียหายให้กับคอมเพรสเซอร์แอร์ หรือเครื่องยนต์ได้

 

 

แต่ถ้าเป็นในรถรุ่นเก่าๆ ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป การ “ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง” เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะรถบางรุ่นยังไม่มีระบบตัดต่อไฟ หรือหน่วงเวลาการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ จะเกิดไฟกระชาก และมีการใช้กำลังไฟมากขึ้น อาจทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด และทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ เหตุนี้เองจึงน่าจะเป็นที่มาของคำแนะนำให้ปิดแอร์ก่อนดับเครื่องทุกครั้ง

แต่ในขณะที่ เพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ข้อมุลเรื่องการ “ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง” หรือ ควรปิดสวิตซ์ (A/C) แอร์ทุกครั้ง ก่อนถึงที่หมาย 3 นาทีว่า เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะแม้ปิดสวิตซ์ (A/C) เพราะต้องการให้อีแวพอเรเตอร์ (evaporator) ถูกลมเป่าจนแห้งจากน้ำ แต่ “น้ำ” ไม่ได้เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้รังผึ้ง ของอีแวพอเรเตอร์ผุกร่อน

 

 

ดังนั้น จุดประสงค์ของผู้แนะนำ คือต้องการให้อีแวพอเรเตอร์ถูกลมเป่าจนแห้ง เพราะถ้ายังเปียกอยู่ จะถูกกัดกร่อนให้ผุเร็วขึ้น จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ “น้ำ” ไม่ได้ทำให้รังผึ้งของอีแวพอเรเตอร์ผุกร่อน การผุกร่อนเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่ทับถมเป็นเวลานาน เช่น สารอินทรีย์ที่มีต้นกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ขนจากสัตว์, ผมมนุษย์, เส้นใยจากฝ้ายของเสื้อผ้า ฯลฯ สารอินทรีย์เหล่านี้เมื่อถูกน้ำเป็นเวลานาน จะเกิดการย่อยสลาย กลายเป็นกรดกัดกร่อนอลูมิเนียมที่ใช้ทำรังผึ้งของอีแวพอเรเตอร์ ซึ่งเป็นตัวการหลักที่ทำให้ตู้แอร์รั่ว

ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง

 

เพราะฉะนั้น เมื่อปิดสวิตซ์ (A/C) ให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน การทำความเย็นที่อีแวพอเรเตอร์ ก็ไม่ได้หยุดตามไปในทันที ความดันของน้ำยาแอร์ในสภาพของเหลว ที่ไหลมาจากแผงคอนเดนเซอร์ด้านหน้ารถยังสูงอยู่ และจะถูกพ่นจากเอกซ์แพนชันวาล์ว เข้าไปในรังผึ้งของ อีแวพอเรเตอร์ต่อไป แม้ช่วงนี้จะน้อยลงเรื่อยๆ ไอน้ำในอากาศที่ไหลผ่านรังผึ้ง ก็ยังคงกลายเป็นน้ำเกาะที่รังผึ้งอยู่ดี และมันไม่ได้ให้โทษอะไร เป็นเพียง “น้ำกลั่น” ที่เปียกอยู่เท่านั้น

 

 

บทสรุป : ควรปิดแอร์ก่อนดับเครื่องไหม มีทั้งไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น โดยปล่อยระบบแอร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานปกติ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และล็อครถก็เพียงพอ ขณะเดียวกัน การ “ปิดแอร์รถก่อนดับเครื่อง”  ก็ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นเดียวกัน ทุกอย่างช่วยยืดอายุการใช้งานของแอร์รถยนต์

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ