ไลฟ์สไตล์

25 ม.ค. 'วันซาลาเปา' เปิดประวัติ 'ซาลาเปา' เริ่มมาจากไหน ทำไมคนถึงนิยมกิน

25 ม.ค. 'วันซาลาเปา' เปิดประวัติ 'ซาลาเปา' เริ่มมาจากไหน ทำไมคนถึงนิยมกิน

25 ม.ค. 2567

25 มกราคม 'วันซาลาเปา' เปิดประวัติ 'ซาลาเปา' เริ่มมาจากไหน ทำไมคนถึงนิยมกินกัน จุดแดงด้านบนมีความหมายว่าอะไร

'วันซาลาเปา' ตรงกับวันที่ 25 มกราคม เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1902 ซึ่งมีต้นกำเนิดมากจาก ชาวญี่ปุ่นในเมืองอะซะฮิกะวะ จ.ฮอกไกโด ซึ่งในปีนั้นเป็นปีที่หนาวที่สุดวันหนึ่ง อุณหภูมิต่ำสุด -41 องศาเซลเซียส จึงต้องหาอาหารร้อนๆ มาเพิ่ม อุณหภูมิ ให้กับร่างกาย 'ซาลาเปา' จึงเป็นตัวเลือกแรกและถือเป็นเมนูยอดนิยม ประเทศญี่ปุ่น จึงจัดให้เป็นวันแห่งการรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาจึงถือว่าวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็น 'วันซาลาเปา'

 

 

'ซาลาเปา' เป็นอาหารประเภทหนึ่งของจีนที่ทำจากแป้งสาลีและยีสต์ ซึ่งด้านในมีไส้ที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ และนำมานึ่งให้สุก 'ซาลาเปา' ที่นิยมรับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมูและซาลาเปาไส้ครีม โดยซาลาเปามักมีจุดสีแดงแต้มอยู่ตรงกลาง เนื่องจากในสมัยก่อนคนจีนเชื่อว่าสีขาวล้วนไม่เป็นมงคล เป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ และเป็นการแก้จึงแต้มจุดสีแดงซึ่งเป็นสีที่เป็นมงคล

 

 

'ซาลาเปา' ภาษาจีนเรียกจะเรียกว่า เปาจึ หรือ เปา เป็นอาหารทำด้วยแป้งปั้นเป็นลูก ใส่ไส้ต่างๆ เช่น เนื้อหรือผัก แล้วนึ่งให้สุก แต่ปัจจุบันอาจใช้วิธีอื่น เช่น ทอด ในวัฒนธรรมจีนยังมีอาหารที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใส่ไส้ คือ หมั่นโถว

 

 

ซาลาเปา

 

ในประเทศจีน แบ่ง เปาจึ เป็นสองประเภทหลัก คือ

 

  • ต้าเปา มักมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร และนิยมซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน
  • เสี่ยวเปา มักมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร และนิยมรับประทานที่ร้านอาหาร

 

 

เชื่อกันว่า จูกัดเหลียง ขุนนางจีนสมัยสามก๊ก คิดค้นหมั่นโถวและเปาจึขึ้น โดยเดิมเรียกหมั่นโถวเหมือนกัน ครั้นสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ มีบันทึกคำว่า "เปา" หรือ "เปาจึ" ใช้เรียกหมั่นโถวแบบใส่ไส้ ดังนั้น เปาจึจึงใช้เรียกมาตั้งแต่สมัยซ่งเหนือเป็นอย่างน้อย ปัจจุบัน ในภาษาจีนมาตรฐาน หมั่นโถวใช้เรียกประเภทที่ไม่ใส่ไส้แต่ประเภทเดียว แต่ในภาษาถิ่น เช่น ภาษาอู๋ ยังเรียกทั้งที่ใส่ไส้และไม่ใส่ไส้ว่าหมั่นโถว

 

 

'ซาลาเปา' นิยมนับเป็นส่วนหนึ่งของชุดอาหารติ่มซำ และรับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร

 

 

ซาลาเปา

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : FREEPIK