ไลฟ์สไตล์

'วันลอยกระทง 2566' ตรงกับวันไหน มีที่มาอย่างไร ลอยกระทง เพื่ออะไร

'วันลอยกระทง 2566' ตรงกับวันไหน มีที่มาอย่างไร ในประเทศไทย 'ลอยกระทง' เพื่ออะไร ขณะที่แต่ละจังหวัดเรียก วันลอยกระทง ว่าอย่างไร

'วันลอยกระทง 2566' หรือ ลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งในปี 2566 จะตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน วันลอยกระทง เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู แต่เทศกาลนี้มีร่องรอยหลักฐานย้อนไปถึงจีนและอินเดียโบราณ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกว่า ลอยกระทง ส่วนประเทศอื่นๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดยประเทศพม่ามีชื่อว่า "เทศกาลตาซองได", ประเทศศรีลังกามีชื่อว่า "Il Full Moon Poya" และประเทศจีนมีชื่อว่า "เทศกาลโคมไฟ"

 

 

ประวัติ

 

ประวัติ 'วันลอยกระทง' นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อกันว่าประเพณีวันลอยกระทงนี้ได้ลืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า พิธีจองเปรียง หรือเรียกว่า การลอยพระประทีป และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุกของสมัยกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

 

 

เหตุผลของการ ลอยกระทง ในประเทศไทย

  • เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย
  • เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
  • เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้

 

 

การ ลอยกระทง ไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง


 

 

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น


ภาคเหนือ

นิยมทำ โคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวลม" หรือ "ว่าวไฟ" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูนประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) หรือโคมลอยบนน้ำรูปทรงต่างๆ

 

จ.เชียงใหม่ มีประเพณี "ยี่เป็ง" ในทุกๆ ปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า

 

จ.ลำปาง มีประเพณี "ล่องสะเปา" (สะเปาหมายถึงกระทง) ซึ่งจะมีการประกวดอยู่สองวันด้วยกัน ได้แก่วันแรก "สะเปาน้ำ" จัดขึ้นในแม่น้ำวังและวันที่สองจะมี "สะเปาบก" 

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง

 

จ.เอ็ด ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชื่องานประเพณีว่า "สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป" ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคาในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ความพิเศษของงานมีการแสดง แสงสีเสียง

 

จ.สกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล

 

 

ภาคกลาง

มีการจัด ประเพณีลอยกระทง ขึ้นทั่วทุกจังหวัด

 

กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลัง วันลอยกระทง

 

จ.พระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา

 

จ.ตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

 

จ.สุโขทัย มีประเพณี "เผาเทียน เล่นไฟ" โดยใช้พื้นที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งตรงกับแหล่งโบราณที่เคยจัดกิจกรรมนี้เมื่อ 700 ปีที่แล้ว ภายในงานจะมีการแห่ขบวนแห่กระทง การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง การแสดงแสงสีเสียง รวมถึงการเผาเทียน เล่นไฟ

 

 

ภาคใต้

อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

 

 

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

 

 

พิกัดลอยกระทงในกรุงเทพ

 

  • ไอคอนสยาม
  • เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์
  • สวนลุมพินี
  • สวนเสรีไทย
  • สวนจตุจักร
  • สะพานพระราม 8
  • วัดภูเขาทอง (วัดสระเกศ)
  • วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
  • ท่ามหาราช
  • คลองผดุงกรุงเกษม (ย่านหัวลำโพง) กรุงเทพฯ

 

ข่าวยอดนิยม