Lifestyle

เปิดโทษ ห้ามโฆษณาเหล้า-เบียร์ หลัง 'พิธา' โดนร้องปมเอ่ยยี่ห้อผ่านสื่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดโทษความผิดฐานโฆษณาเหล้า-เบียร์ ผ่านสื่อ ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์’ หลัง 'พิธา ลิ้มเจริญรัฐ' โดนร้องกกต.ปมเอ่ยชื่อยี่ห้อผ่านสื่อ โทษหนักขนาดไหนดูรายละเอียดได้ทีนี่

ถล่มทลาย ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จุดกระแส ‘สุราก้าวหน้า’ ทำ ‘เหล้าสังเวียน’ และสุราพื้นบ้านหลายแบรนด์ขายหมดเกลี้ยงโรงงาน

 

แต่งานนี้ไม่รอดพ้นสายตา ‘นักร้อง’ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อชี้เป้าเอาผิด ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล 

 

หลังจาก ‘พิธา’ ไปออกรายการ‘กรรมกรข่าว คุยนอกจอ’ ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางช่องยูทูบ ซึ่งในการให้สัมภาษณ์ นายพิธา กล่าวตอนหนึ่งถึงนโยบายสุราก้าวหน้า และรสนิยมการดื่มของตัวเอง พร้อมก้บเปิดเผยชื่อยี่ห้อและเชียร์สุราชุมชนที่ตัวเองดื่มหลายชื่อ อันเข้าข่ายเป็นการโฆษณาต้องห้ามตามกฎหมาย

 

แต่ในอดีต ประเทศไทยสามารถโฆษณาเหล้าเบียร์กันได้อย่างเสรี ภาพคนดื่มแอลกอฮอล์ หรือขวดเหล้า ขวดเบียร์ สามารถเอาขึ้นจอโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือบิลบอร์ดโฆษณาได้อย่างไม่มีปัญหา แต่หลังจากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 มีผลบังคับใช้ เมื่อ 13 ก.พ. 2551 ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทันที

 

เปิดมาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 มาตรา 32 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า"ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผูู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม

 

การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผูู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทําได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผูู้ ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกําเนิดนอกราชอาณาจักร"

 

เปิดโทษโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โทษหนักแค่ไหน

 

ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 หมวด 7 บทกําหนดโทษ ตามมาตรา 38 ผู้ผลิตหรือนําเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา26 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

มาตรา 39 ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

มาตรา 40 ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยฝ่าฝืนมาตรา 29 หรือมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท(สองหมื่นบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ 

 

มาตรา 41 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 30 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ 

 

มาตรา 42 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ 

 

มาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท(ห้าแสนบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท(ห้าหมื่นบาท) ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง 

 

มาตรา 44 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 34 (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) หรือทั้งจําทั้งปรับ ผู้ใดไม่ยอมมาใหถ้อยคำหรือไม่ยอมใหถ้อยคําโดยไม่มีเหตุอันสมควรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่่ตามมาตรา 34 (3) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา ของพนักงานเจ้าหน้าที่่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา 34(3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท)

 

ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท(สองพันบาท)

 

มาตรา 45 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการควบคุมมีอํานาจ เปรียบเทียบได้ และในการนี้ให้คณะกรรมการควบคุมมีอํานาจมอบหมายให้ คณะอนุกรรมการ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกําหนดหลักเกณฑ์ ในการเปรียบเทียบ หรือเงื่อนไขประการใด ๆ ให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายตามที่เห็นสมควรก็ได้ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบให้ พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังคณะกรรมการควบคุมหรือผู้ ซึ่ง คณะกรรมการควบคุมมอบหมายให้ มีอํานาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ เมื่อผู้กระทําความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา 

 

สรุปโทษห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

สำหรับโทษปรับ จากมาตรา 32 หากโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยโทษความผิดฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการโฆษณาของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะปรับ 500,000 บาท โดยมีการกำหนดอัตราการเปรียบเทียบปรับไว้ด้วย

 

นั่นหมายถึง โทษปรับจากมาตรา 32 หากโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าปรับสูงถึง 50,000 ถึง 500,000 บาท ในขณะที่คดีเมาแล้วขับ มีค่าปรับเพียง 20,000 บาทเท่านั้น ทำให้สังคมเกิดคำถามว่าความผิดจากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรจะมีลงโทษรุนแรงกว่า ‘เมาแล้วขับ’ จริงๆ หรือ และนี่เป็นบทลงโทษที่เกินสัดส่วนต่อการกระทำผิดด้วยหรือไม่

 

อ่านรายละเอียด >> พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (คลิก )

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ