ไลฟ์สไตล์

'วันไหว้ครู 2566' ตรงกับวันไหน เปิดประวัติ-ความสำคัญ รวมบทสวด วันไหว้ครู

'วันไหว้ครู' กับประวัติ ความสำคัญ 'วันไหว้ครู 2566' ตรงกับวันไหน เปิด 4 ดอกไม้ สัญลักษณ์ที่ใช้กับ 'พานไหว้ครู' และ บทสวด บูชาครู

“วันไหว้ครู 2566” ตรงกับวันไหน ตามธรรมเนียมปฎิบัติ มักจะจัดพิธีไหว้ครู ในวันพฤหัสบดีที่สองของเดือน หลังจากเปิดภาคเรียนใหม่ โดยปีนี้ วันไหว้ครู ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 8 มิ.ย. 2566 แต่ทั้งหมดก็แล้วแต่ แต่ละโรงเรียนจะกำหนดตามความเหมาะสม ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับวันที่ 8 มิ.ย. 2566 

 

 

 

 

“วันไหว้ครู” ถือเป็นเอกลักษณ์ทางประเพณี และวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวไทย เนื่องจากครูเป็นบุคคลที่เราให้ความเคารพนับถือ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับศิษย์ ด้วยความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดี ส่งผลให้ครูเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ คมชัดลึก ได้รวบรวมความรู้ ทั้งประวัติวันไหว้ครู, สัญลักษณ์ของวันไหว้ครู, พานไหว้ครู และความหมายของดอกไม้แต่ละชนิด ที่ใช้สำหรับไหว้ครู มาไว้ให้แล้ว

 

วันไหว้ครู

 

ประวัติ “วันไหว้ครู”

 

 

ไม่มีข้อมูลที่มาที่แน่ชัดว่า “วันไหว้ครู” เกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมผู้แทนคณะครูทั่วประเทศในคราวประชุมวิสามัญของคุรุสภา เมื่อเดือน พ.ค. 2499 ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ที่คราวนั้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มี “วันครู” ขึ้น เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงครูบูรพาจารย์ อันเป็นแนวคิดจุดเริ่มต้นของพิธีไหว้ครูนั่นเอง

 

 

 

สัญลักษณ์วันไหว้ครู

 

สัญลักษณ์สำคัญของ “วันไหว้ครู” ที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น “พานไหว้ครู” ที่ประกอบไปด้วยดอกไม้ ธูป และเทียน โดยดอกไม้วันไหว้ครู ได้แก่ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกเข็ม ซึ่งองค์ประกอบในพานดอกไม้แต่ละอย่างล้วนเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น

 

พานไหว้ครู

ดอกไม้ วันไหว้ครู 2566

 

 

ดอกมะเขือ แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของศิษย์ต่อครูอาจารย์ พร้อมรับความรู้ต่างๆ จากผู้สอน เนื่องจากดอกมะเขือ เวลาบานจะมีสีขาวสะอาด และดอกจะโน้มคว่ำลงพื้นดิน

 

ดอกมะเขือ

 

หญ้าแพรก เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเข้มแข็ง อดทน แม้จะแห้งแล้ง คนจะเหยียบย่ำ หญ้าแพรกก็จะไม่ตาย พอได้รับโอกาสที่เหมาะสม ได้รับความชุ่มชื่น ก็จะแตกยอดเจริญงอกงามอย่างดี และยังแสดงถึงความเจริญงอกงามของสติปัญญา ครูจึงต้องเป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทนต่อปัญหาต่างๆ ของนักเรียน และค่อยๆ สะท้อน ปลูกฝังความมุ่งมั่นอดทน เข้มแข็งไปสู่นิสัยของนักเรียน

 

หญ้าแพรก

 

ข้าวตอก แทนสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบและมีความมุ่งมั่นก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาว ที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก เช่นเดียวกับการให้การศึกษา ครูผู้สอนต้องให้การอบรมคู่กันไปด้วย “อบเพื่อให้สุก รมเพื่อให้หอม”

 

         ข้าวตอก

 

ดอกเข็ม เป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญา ที่หลักแหลม เนื่องจากลักษณะของดอกเข็มจะมียอดดอกแหลม ซึ่งเป็นปริศนาธรรมว่า ครูต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความคิด ให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนฉลาด(หัวแหลม) รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ ใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาต่างๆ ที่พบเห็น ความเฉียบคมทางความคิดจะทะลุทะลวงทุกปัญหาได้

 

ดอกเข็ม

 

กิจกรรมในวันไหว้ครู

 

  • พิธีกรรมทางศาสนา โดยเริ่มต้นจากการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ต่อด้วยการรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ กล่าวคำปฏิญาณตน และกล่าคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • การประกวดพานไหว้ครู ให้นักเรียนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และใช้ดอกไม้ที่สัญลักษณ์ของวันไหว้ครู มาประดับตกแต่งให้เกิดความสวยตามสมัยนิยม ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่า มีการออกแบบพานไหว้ครู แตกต่างไปจากอดีต มีการประยุกต์ให้ทันกับยุคสมัย

 

 

บทสวดเคารพครูบาอาจารย์ วันไหว้ครู

 

               บทสวดวันไหว้ครู

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม