Lifestyle

8 เม.ย. 'วันกาชาดสากล' เปิดประวัติที่มา เกิดได้อย่างไร สัญลักษณ์มีกี่แบบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

8 เมษายน 'วันกาชาดสากล' เปิดประวัติที่มา วันกาชาด เกิดขึ้นได้อย่างไร สัญลักษณ์ที่ใช้มีกี่แบบ ภารกิจของ ICRC มีอะไรบ้าง

'วันกาชาดสากล' ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) ผู้ให้กำเนิดกาชาดสากล วันกาชาดโลก เกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดัน และเหตุการณ์อันน่าสลด ของสงครามการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน 

 

 

ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ ญัง อังรี ดูนังต์ ได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2402 เพราะมีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของ 'วันกาชาดสากล'

 

กาชาด

 

ขบวนกาชาด และ เสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ (International Red Cross and Red Crescent Movement) หรือ กาชาด (Red Cross) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลกราว 97 ล้านคน ที่มีจุดประสงค์ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง

 

ตราสัญลักษณ์ที่ใช้โดยหน่วยงานนี้มีด้วยกันสามตรา มีรูป ตรากากบาทแดง (Red Cross), ตราเสี้ยววงเดือนแดง (Red Crescent) และตราคริสตัลแดง (Red Crystal)

 

หน่วยงานในประเทศไทยเรียกว่า สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดงเป็นตราสัญลักษณ์

 

 

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

 

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2406 โดยการนำของ ญัง อังรี ดูนังต์ มีสำนักงานที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศสมาชิกยอมรับให้เป็นองค์กรอิสระ ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarian law) แห่งอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) ซึ่งถือเป็นกฎหมายนานาชาติตามธรรมเนียม มีภารกิจทั่วโลกในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม ผู้ลี้ภัย เชลยสงคราม และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ

 

 

สัญลักษณ์ กาชาด

 

การจัดตั้งสำนักงานของคณะกรรมการฯ นั้นขึ้นอยู่กับระดับของการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบันคณะกรรมการฯ มีเจ้าหน้าที่ 11,000 คนปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการฯ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ทำงานครอบคลุมประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม

 

คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นองค์กรเดียวกับสภากาชาดไทย และนิยมเรียกผิดว่าสภากาชาดสากล แต่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง (Movement of the Red Cross) เช่นเดียวกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) และ สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (National Societies) ของแต่ละประเทศ

 

ด้วยหลักการ กาชาด และ เสี้ยววงเดือนแดง ที่เน้นการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้เราสามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือและปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของเหยื่อจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นได้ โดยการติดต่อพูดคุยกับคู่กรณีและกองกำลังทุกฝ่าย รวมถึงกลุ่มติดอาวุธ เรื่องการให้ความเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎข้อบังคับขั้นพื้นฐานต่างๆ ในการปกป้องบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง

 

 

ภารกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

 

  • การพยายามทำให้พลเมืองผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบและเหตุการณ์ความรุนแรงได้รับการละเว้นและปกป้อง
  • เข้าเยี่ยมเชลยสงครามและผู้ต้องขังจากข้อหาความมั่นคง
  • ส่งข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกในครอบครัวที่ต้องพลัดพรากเนื่องจากการสู้รบ
  • สืบหาผู้สูญหายอันเนื่องมาจากสงครามและความไม่สงบ
  • ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้านการแพทย์
  • จัดหาอาหาร น้ำสะอาด สาธารณูปโภคและที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัยจากสงคราม
  • เผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
  • เฝ้าสังเกตการบังคับใช้เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
  • ช่วยผลักดันการพัฒนาข้อกฎหมายและอนุสัญญาต่างๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
  • ลดผลกระทบจากกับดักระเบิดและซากอาวุธอื่นๆ ที่มีต่อผู้คน
  • ให้การสนับสนุนการทำงานของสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การสู้รบและความรุนแรงอื่นๆ

 

 

สภากาชาดไทย 

 

เป็นองค์กรการกุศลระดับชาติดำเนินการเพื่อมนุษยธรรม ตามหลักกาชาดสากลเป็นองค์กรที่มีลักษณะเป็น พลวัต และนวัตกรรมมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศและเป็นไปตามคติทัศน์ของสภากาชาดไทย คือ การบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรค กำจัดภัย เพื่อประโยชน์สุขและเป็นที่พึ่งของประชาชน

 

 

สภากาชาดไทย

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย / สภากาชาดไทย

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ