ไลฟ์สไตล์

"ตรุษจีน 2566" แจก "อั่งเปา" วันไหน ต้องให้ใคร และให้เท่าไหร่

"ตรุษจีน 2566" แจก "อั่งเปา" วันไหน ต้องให้ใคร และให้เท่าไหร่

11 ม.ค. 2566

"ตรุษจีน 2566" เป็นวันที่หลายคนรอคอย เพราะตามธรรมเนียมคือวันที่จะไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ และท่านจะมอบ "อั่งเป่า" ให้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ให้แก่เด็กๆ นั่นเอง

ช่วงเทศกาล “ตรุษจีน 2566” หลังจาก วันจ่าย วันไหว้ แล้ววันถัดไปก็จะเป็นวันเที่ยว ซึ่งก็คือวันปีใหม่ ปี 2566 นี้ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ตามธรรมเนียมคือวันที่จะไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่หรือคนที่เรานับถือ และวันเที่ยวนี่เองที่หลายคนรอคอย เพราะเป็นวันที่ญาติผู้ใหญ่หรือคนที่เรารู้จักจะมอบ "อั่งเป่า" หรือ “แต๊ะเอีย” ให้แก่กัน แต่หลายคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า “อั่งเป่า” กับ “แต๊ะเอีย” ต่างกันอย่างไร ต้องมอบให้ใครบ้าง และควรให้เท่าไหร่ วันนี้ คมชัดลึก ออนไลน์ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

 

“อั่งเปา” มีที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนคำว่า เปา คือ ซอง หรือเรียกร่วมๆ กันก็คือ ซองแดง ซึ่งซองแดงนี่เองที่จะเอาไว้ใส่ของที่จะมอบให้กันใน วันตรุษจีน ส่วนใหญ่มักจะให้เป็นเงิน เพราะความเชื่อคือการอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ให้แก่เด็กๆ นั่นเอง

 

\"ตรุษจีน 2566\" แจก \"อั่งเปา\" วันไหน ต้องให้ใคร และให้เท่าไหร่

 

และเหตุผลที่ต้องเป็นซองสีแดง ก็เพราะสีแดงในความเชื่อของคนจีนถือว่าเป็นสีสิริมงคล แสดงถึงพละกำลัง พลังอำนาจ ความรุ่งโรจน์ในชีวิต สีแดงจึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและความสุข

 

ส่วน “แต๊ะเอีย” ก็คือ เงินที่อยู่ในซองแดงหรือ "อั่งเปา" นั่นเอง ซึ่งแต่ก่อน แต๊ะเอีย จะแปลว่าของที่เอามาติดไว้ที่เอว ก็เพราะสมัยก่อนคนจีนจะเอาเงินมาผูกและใช้เชือกสีแดงมาร้อยเหรียญเอาไว้ที่เอว และจะเอามามอบให้กันในวันตรุษจีน แต่ปัจจุบันเงินส่วนใหญ่จะเป็งแบงค์ไม่ใช่เหรียญเหมือนเมื่อก่อน คนก็เลยนิยมเอามาใส่ซอง “อั่งเป่า” เพื่อมอบให้กันใน “ตรุษจีน 2566”

 

\"ตรุษจีน 2566\" แจก \"อั่งเปา\" วันไหน ต้องให้ใคร และให้เท่าไหร่

 

 

เรามักจะได้ยินคำว่า "อั่งเปาตั่วตั่วไก๊" (红包多多来) แปลว่า "ขออั่งเปาอีกเยอะๆ" เป็นการออกเสียงตามภาษาจีนถิ่นแต้จิ๋วเช่นเดียวกัน โดยเด็กๆ มักจะพูดคำนี้ใน วันตรุษจีน เพื่อขอซอง "อั่งเปา" สวยๆ จากญาติผู้ใหญ่ ซึ่ง “ตรุษจีน 2566” ที่จะถึงนี้ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น

 

 

จำนวนเงินในซองสื่อความหมายอย่างไร

 

คนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ยึดหลักการให้เงินเป็น "เลขคู่" เพราะถือเป็นเลขแห่งความมงคลในความหมายจีน ในภาคใต้ของจีนจะมีการให้เงินที่เป็นเลข 6 หรือในภาษาจีนคือ 六 六 大 顺 (liù liù dà shùn : ลิ่ว ลิ่ว ต้า ชุ่น) เสียงคล้องกับวลีที่แปลว่า ความสำเร็จที่ราบรื่น และ 8 发 (fā) ที่แปลได้ว่า “ได้รับความมั่งคั่ง"

 

ช่วงยุคแรกแห่งการสถาปนาสาธารณะรัฐจีน หรือศตวรรษที่ 20 มีความเชื่อว่าจะต้องให้เงินที่มีมูลค่า 100 เซ็นต์ ซึ่งเป็นการอวยพรให้ผู้รับมีอายุยืนยาวถึง 100 ปี แต่ปัจจุบัน การให้เงินคนในครอบครัวของชาวจีนส่วนใหญ่นั้น ไม่มีหลักเกณ์ตายตัว แต่ตามธรรมเนียมผู้ที่ทำงานแล้วจะเป็นผู้มอบ อั่งเปา ให้กับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือจะมอบให้กับผู้ที่อาวุโสกว่าก็ได้เช่นกัน