"อังกะลุง" เครื่องดนตรีมรดกโลก ต้นกำเนิดอยู่ชวา เพราะเหตุใดจึงนิยมในไทย
เปิดที่มา "อังกะลุง" เครื่องดนตรีมรดกโลก ถือกำเนิดในชวา อินโดนีเชีย เพราะเหตุใดจึงมาอยู่ในไทย เจ๋งจน Google Doodle ต้องฉลองให้
หลายคนคงสงสัยว่าทำไม "อังกะลุง" จึงถูกนำมาฉลองใน Google Doodle โดยจากข้อมูละระบุว่า วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้รับรองอย่างเป็นทางการให้
"อังกะลุง" อินโดนีเซียเป็นเครื่อดนตรีมรดกโลก พร้อมกับสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมือ "อังกะลุง" โดย "อังกะลุง" เป็น เครื่องดนตรีประเภทกระทบทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ ถูกคิดค้นโดยประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับที่มา "อังกะลุง" ในประเทศไทย
"อังกะลุง" เริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดย หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2450 เมื่อครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเกาะชวา โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงของ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงแนะนำและอนุญาต ให้เสด็จประพาสยังประเทศชวา
"อังกะลุง" ที่นำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกนั้น เป็น "อังกะลุง" ชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา หรือ อินโดนีเซีย โดยในการเล่น "อังกะลุง" มือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลง "อังกะลุง" ในปัจจุบัน และ หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวงที่วัดราชาธิวาสในสมัยรัชกาลที่ 6