Lifestyle

"วันปิยมหาราช" สักการะ เสด็จพ่อ ร.5 อย่างไรให้ถูกวิธี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วันปิยมหาราช" ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่คนไทยได้จะน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต

ในโอกาส “วันปิยมหาราช”  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า เสด็จพ่อ ร.5 ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่คนไทยได้จะน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทยทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า

 

พระราชสมัญญานาม สมเด็จพระปิยมหาราช มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน คนไทยจึงเชื่อกันว่าการสักการะบูชาพระองค์ จะส่งผลให้ผู้นั้นเป็นที่รักของคนทั่วไป และมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านของชีวิต ทั้งการงาน โชคลาภ ปลดหนี้สิน รวมทั้งค้าขายเจริญรุ่งเรือง

 

สถานที่สักการะ เสด็จพ่อ ร.5 ในโอกาส “วันปิยมหาราช” ในกรุงเทพฯ จะมีตามจุดสำคัญต่างๆ อาทิ 

 

  • พระบรมรูปทรงม้า
  • จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ทางฝั่งหอประชุม
  • ศาลาร้อยปี ณ วัดเบญจมบพิตร
  • สถาบันการแพทย์ สยามมินทราธิราช
  • มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา
  • ป้อมพระจุลจอมเกล้า

 

เครื่องสักการะ เสด็จพ่อ ร.5

  • ดอกกุหลาบสีชมพู เพราะ ดอกกุหลาบนั้นมีหนามที่แหลมคมและความงดงาม เปรียบดั่งพระปรีชาสามารถและอำนาจในการปกครองประเทศของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังมีความเมตตากรุณายิ่งอันเป็นความงดงามแก่แผ่นดินไทย ส่วนสีชมพูนั้นเป็นสีประจำวันอังคารอันเป็นสีของวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน
  • บายศรี
  • หมากพลู
  • บุหรี่
  • สุรา บรั่นดี หรือไวน์
  • รวมถึงนำหญ้าสดใหม่มาให้แก่ม้าพระที่นั่ง

 

 

วันที่ควรไหว้สัการะคือวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็น “วันปิยมหาราช” และยังเลือกบูชาประจำทุกสัปดาห์ได้ในทุกวันอังคารซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ หรือวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันครู หรือบูชาในวันพระก็ได้เช่นกัน แต่ต้องยกเว้นเครื่องสักการะที่เป็นอบายมุข จำพวก บุหรี่ และเหล้า

 

วิธีการสักการะบูชา เสด็จพ่อ ร.5

 

สำหรับผู้ที่บูชาพระองค์ท่านครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปให้จุด 9 ดอก โดยว่าคาถาดังนี้

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

 

พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)

 

หรือ

 

พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง

 

พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

 

อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะนาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง

 

พระคาถาอธิษฐานขอพร (ห้ามบนเด็ดขาด)

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

 

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานังจงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตาจงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

 

ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ)

 

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะ นาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ)

 

พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์ เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ