"อาการบ้านหมุน" สัญญาณบ่งบอกโรคอันตราย บอกวิธีรับมือหากกำลังมีอาการ
"อาการบ้านหมุน" สัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว อันตรายหรือไม่ หากเผชิญกับภาวะเวียนหัว บ้านหมุน ต้องปฏิติบัติตัวอย่างไร
"อาการบ้านหมุน" โรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน วัยไหน ก็สามารถเผชิญกับ "อาการบ้านหมุน" ได้เช่นกัน สำหรับ "อาการบ้านหมุน" เกิดจากที่ อวัยวะภายในหูชั้นในที่ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของร่างกาย จึงทำให้เกิด อาการบ้านหมุน เพราะร่างกายเสียความสมดุลในการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุนรอบตัวเอง หรือตัวเองกำลังหมุนทั้ง ๆ ที่อยู่กับที่ ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงมาถึงขั้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ มีเสียงในหู ฯลฯ โดยหากเกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนจะเสียการทรงตัว ทำให้เสี่ยงต่อการล้มหรืออุบัติเหตุ
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว จาก "อาการบ้านหมุน" ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากหลายสาเหตุ และ "อาการบ้านหมุน" ถือว่าเป็นสัญญาบ่งบอกได้หลายโรคเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- โรคหินปูนในหูชั้นใน โดยโรคดังกล่าว เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ อาการที่พบได้เบื้องต้นคือ อาการเวียนหัวแบบบ้านหมุนขึ้นมาทันทีที่เปลี่ยนท่าทางของศีรษะ เช่น ล้มตัวลงนอน หรือก้มเก็บของ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการเป็นเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นประจำ
- โรคไมเกรน ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนหัวที่มักจะเป็น ๆ หาย ๆ สลับกันไป และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การได้ยินจะลดลง หูอื้อ จนบางครั้งอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน มักจะมีอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และสูญเสียการทรงตัว โรคนี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน
- โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไม่เพียงพอต่อการไปเลี้ยงสมอง ทำให้มีอาการหน้ามืด หรือเป็นลมตามมา
- โรคทางจิตเวช โดยสาเหตุนี้มักจะเกิดจากสภาพจิตใจร่วมด้วย เช่น อาการเวียนหัวอย่างมากเมื่ออยู่ในที่แคบ ที่สูง หรือที่ชุมชน เกิดอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม มือเท้าชา และเย็น และแน่นหน้าอก
หากเกิด "อาการบ้านหมุน" มีภาวะอาเจียน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
ในภาวะที่เกิด อาการเวียนศีรษะ และมีอาการอาเจียนร่วมด้วยจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ความดันในเลือดต่ำ และอาจเกิดภาวะช็อก ดังนั้นผู้ที่เกิดอาการดังกล่าว ควรปฏิบัติดังนี้
- หยุดนั่งพัก หรือควรนอนพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้อาการแย่ลง เช่น การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้ม หรือเงยคอนาน ๆ
- ถ้าเวียนศีรษะบ้านหมุนมาก ๆ ให้นอนพบพื้นราบโดยไม่เคลื่อนไหว มองจ้องวัตถุนิ่ง จนอาการดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลุก หากรู้สึกง่วงนอนควรนอนหลับพักผ่อนให้อาการดีขึ้น
- เลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น หมุนหันศีรษะเร็ว ๆ ก้ม เงยคอมากเป็นเวลานาน หรือหันหน้าเร็ว
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w