Lifestyle

ไขข้อข้องใจ "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" จากลูก ตามกฎหมายได้หรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดกฎหมาย "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" จากลูก กรณีลูกไม่ส่งเสีย ตามกฎหมายได้หรือไม่ สุดท้ายแล้วลูกที่ถูกทอดทิ้งจำเป็นต้องอุปการะ บิดา มารดาไหม?

จากประเด็น "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" จากลูกสาว ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยดูแล ส่งเสียให้เรียนหนังสือ และปล่อยให้อยู่กับปู่และย่า โดยที่ไม่ได้สนใจความเป็นอยู่ แต่กลับจะมาขอค่าเลี้ยงดูแบบรายเดือนหลังจากที่ มีรายได้ ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายของประเทศไทยแล้วมีกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร  มาตรา 1563  บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา  ดังนั้นกรณีที่ พ่อแม่จะฟ้องลูกในฐานที่ไม่ดูแลเลี้ยงดูจึงสามารถทำได้ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว พ่อแม่ จะไม่เคยเลี้ยงดูเรามาก่อนเลยก็ตาม 
 

แต่ทั้งนี้กรณี  "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น พ่อแม่ สามารถฟ้องลูกได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด  แต่ในความเป็นจริงการพิจารณารายละเอียดจะต้องดู กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะที่ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู มาตรา 1598/38 เพิ่มเติมด้วย โดยสาระสำคัญของมาตรานี้ระบุไว้ ดังนี้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา  หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายใดที่ควรได้รับการอุปการเลี้ยงดู ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจจะให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยจะคำนึงถึงความสามารถของผู้ที่มีหน้าที่ต้องให้ 
 

ในมาตราดังกล่าว สรุปได้ว่า กรณีที่มีการฟ้องร้องศาลจะมีการพิจารณาจากข้อมูล และหลักฐาน พร้อมทั้งดูพฤติการประกอบว่าลูกมีความสามารถ ที่จะดูแลพ่อแม่ได้หรือไม่ ซึ่งในกระบวนการพิจารณาจะมีการพิจารณาข้อมูลหลายด้านประกอบกันก่อนที่จะตัดสินว่าสมควรหรือไม่ที่ลูกจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้แก่พ่อแม่ ทั้งนี้ในประเทศไทยกรณีที่  "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" เกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่พ่อแม่ฟ้องร้องลูก เนื่องจากยกมรดกให้แล้วแต่กลับถูกทอดทิ้งมากกว่า 

ส่วนการฟ้องร้องตามประมลกฎหมายอาญา มาตรา 307 นั้น เพจทนายคู่ใจ ได้ระบุ เอาไว้ชัดเจนว่า ย้ำ เตือนว่า ความผิด ตามมาตรา 307 ป.อาญา นั้น การทอดทิ้งพ่อแม่นั้นต้อง"น่า"จะทำให้ผู้ถูกทอดทิ้งเกิดอันตราย แม้ไม่เกิดอันตรายแก่ชีวิตขึ้นมาจริงๆเพียงแต่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต โดยความน่าจะเกิดอันตรายที่กล่าวถึงนี้ก็ใช้ความรู้สึกสามัญสำนึกของวิญญูชนคนปกติรวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆเป็นกรณีไปครับ ดังนั้นเมื่อครบถ้วนองค์ประกอบแล้วถือว่าผู้ที่กระทำการทอดทิ้งนั้นได้ทำความผิดสำเร็จแล้ว ดังนั้นความผิดตามมาตรานี้เพียงแต่เจตนาทอดทิ้งและน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ก็ถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นครบถ้วนกระบวนความแล้ว 

ดังนั้นหาก "พ่อแม่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู" จึงสามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่จะได้รับค่าเลี้ยงดูหรือไม่นั้นจะต้องเป็นไปตามกระบวนการของศาล และข้อมูลประกอบ 

อย่างไรก็ตามในกรณีดังกล่าวทำให้เกิดข้อถกเถียงอย่างเป็นวงกว้างในโลกออนไลน์ หลายคนมองว่า พ่อแม่ที่ทิ้งลูกไปไม่ควรเรียกร้อง อย่างเช่นกรณี ข่าวที่โด่งดังในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเกิดมาจากการเสียชีวิตของไอดอลสาวอย่าง คู ฮา รา  Goo Hara ดารานักร้องวงดัง คารา KARA  ที่เสียชีวิตจากการอัตวิบากกรรมไปเมื่อปี 2562 แต่แม่ของเธอกลับมาเรียกร้องมรดก ทำให้เกิดการผลักดันกฎหมาย กฎหมายคูฮารา Goo Hara Act ที่มีรายละเอียดระบุถึง การหาจัดการมรดกของลูก ที่ตายไปก่อนพ่อหรือแม่ โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ระบุว่า คนที่บกพร่องกับการทำหน้าที่เลี้ยงดูลูก ทอดทิ้งละเลยไม่ดูแลลูก ไม่มีความรับผิดชอบ กับการเป็นผู้ปกครอง หรือก่ออาชญากรรม ทารุณกรรมลูก ต้องถูกตัดสิทธิการสืบมรดกของลูก ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่า ทำจริง 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote https://www.komchadluek.net/entertainment/524524

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ