Lifestyle

เที่ยวฝั่งธนบุรี ชม พระปรางค์อัฐิ พระยาพิชัย ดาบหัก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ่านประวัติ นักรบเอก แห่ง กรุงธนบุรี ชีวิตและความโลดโผนของ พระยาพิชัยดาบหัก และ รู้จัก พระปรางค์ บรรจุอัฐิ ที่ วัดราชคฤห์วรวิหาร

แผ่นดิน กรุงธนบุรี แม้จะมีชีวิต และลมหายใจ เพียงเวลา 15 ปี แต่เป็นช่วงเวลา ที่มีเรื่องราว และ ความเป็นไปมากมาย เกินที่จะศึกษา หรือ ค้นคว้า ได้หมดในเวลาอันสั้น ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ ในการไปต่อของผู้คน ที่เหลือ อยุธยา ไว้ในความทรงจำ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีเหล่าทหารกล่า ที่รบเคียงข้างพระองค์ ตั้งแต่ เมืองตาก ศึกอังวะล้อมตีกรุง รบเมืองจันทบูร เป็นฐานกู้กรุง และปราบชุมนุม เพื่อกอบกู้อำนาจศูนย์กลาง หนึ่งในทหารเอก มี พระยาพิชัย ขุนศึกคู่พระทัย ที่มีฝีมือเลื่องลือ 

สมัยที่ท่านอยู่ กรุงธนบุรี ท่านได้ร่วมบูรณะวัดไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในย่านตลาดพลู ในปัจจุบัน  นั่นคือ วัดราชคฤห์วรวิหาร 


ในปัจจุบัน วัดราชคฤห์วรวิหาร เป็นอารามเล็ก ๆ ที่น้อยคนจะรู้ประวัติ เพราะส่วนใหญ่คนจะไป วัดอินทราราม หรือเลยไป วัดนาคปรก แทน


สำหรับ พระยาพิชัยดาบหัก นั้นมีชื่อเดิมว่าจ้อยตามข้อมูลที่มีบันทึกไว้ระบุว่าเกิดในช่วงปีพุทธศักราช 2284 ที่ บ้านห้วยขาบ เมืองพิชัย หรือ ในปัจจุบันก็คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการระบุไว้ว่ามีพี่น้อง 4 คนแต่ได้เสียชีวิตไป 3 คนตัวเด็กชายจ้อย ตั้งแต่เด็กนั้น มีนิสัยชอบชกมวย


ซึ่งตัวบิดาเอง ก็ได้คำสอนเสมอ ถ้าหากต้องการจะชกมวย ต้องเรียนหนังสือไปด้วย ต่อมาเมื่อเจริญวัยขึ้นจนอายุครบ 14 ปี ตัวบิดาได้นำไปฝาก ท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัยทำให้ จ้อย สามารถอ่านออกเขียนได้ และซ้อมมวยไปในตัวพร้อมๆกัน ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อท่านเจ้าเมือง แนะนำบุตรมาฝากและร่ำเรียนที่วัด ทำให้พวกคุณเฉิดได้มีปัญหากับจ้อยอยู่บ่อยครั้งทำให้เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัด
 

 ไปจนถึงวัดบ้านแก่งและได้พบกับครูมวยชื่อเที่ยงเมื่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์แล้วก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ซึ่งครูเที่ยงได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้หมัดมวยทั้งหมดให้จนสิ้นกับนายทองดี จากนั้นนายทองดีจึงเดินทางไปจนถึงวัดวังเต่าหม้อซึ่งปัจจุบันก็คือวัดท่าถนน 


ในขณะนั้นได้มีการแสดงงิ้วซึ่งนายทองดีได้จดจำเอาท่าแสดงงิ้วต่างๆมาดัดแปลงจนสามารถเป็นท่ามวยของเขาขึ้นมาได้ แล้วจากนั้นก็จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูเมฆที่บ้านท่าเสา จุดเด่นของนายทองดีอยู่ที่เมื่อเขาเดินทางไปจนถึงเมืองตากในขณะที่กำลังจะมีการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่ของเมืองตาก

อนุสาวรีย์ พระยาพิชัย ดาบหัก ที่ อุตรดิตถ์


 เจ้าเมืองตาก หรือต่อมาก็คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้จัดให้มีการชกมวยฉลองขึ้นซึ่งนายทองดี ได้เข้าไปเปรียบมวยและสามารถเอาชนะนักมวยได้หลายคน จนทำให้เจ้าเมืองตากพอใจมาก และรับตัวเข้ามาเป็นทหารในสังกัด และได้รับยศแรกก็คือ หลวงพิชัยอาสา
 ต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์ข้าศึกล้อมกรุงนั้น เจ้าเมืองตาก ได้ลงไปที่ กรุงศรีอยุธยา เพื่อรับโปรดเกล้าเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสา ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับ พระยาวชิรปราการ จนตีฝ่าวงล้อมออกไปสู่ภาคตะวันออกและตั้งมั่นที่ จันทบุรี ก่อนที่จะกลับมากู้สถานการณ์

จนภายหลัง พระยาวชิรปราการ ได้สถาปนาตนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่ง หลวงพิชัยอาสาได้รับโปรดเกล้าเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์ ในช่วงเวลาที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทำการปราบปรามก๊กต่างๆ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้เข้าร่วมรบแสดงฝีมือจนเป็นที่ประจักษ์ทำให้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้าสถาปนาตำแหน่งของ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ขึ้นเป็น พระยาสีหราชเดโช มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม

 จนเมื่อถึงการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝาง ซึ่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้นายทหารโดยถ้วนหน้าและพระยาสีหราชเดโชได้รับโปรดเกล้าให้ขึ้นเป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิดนั่นเอง 

พระปรางค์บรรจุอัฐิ พระยาพิชัย ดาบหัก ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร
วีรกรรมสำคัญของ พระยาพิชัย เกิดขึ้นในช่วงปีพุทธศักราช 2310 3 จนถึง 2316 ในคราวนั้นฝั่งพม่าซึ่งกำลังปกครองเชียงใหม่อยู่ ได้ส่งกองทัพ หมายจะเข้ามาตีหัวเมืองชั้นแรกของกรุงธนบุรี ตามแผนการที่จะบุกโจมตี กรุงธนบุรี และได้มีการต่อสู้กับโป่สุพาลา ซึ่งนำทัพเข้าตีเมืองพิชัย ในครั้งนั้นสมรภูมิหลักอยู่ที่บริเวณวัดเอกา


ซึ่งในครั้งนี้เอง พระยาพิชัย ซึ่งมีอาวุธคู่มือถือดาบสองเล่มได้เข้าต่อสู้กับพม่าและได้เสียหลักใช้ดาบยันพื้นจนเป็นที่มาของชื่อ พระยาพิชัยดาบหัก และในการฝึกครั้งนี้ก็ได้สามารถเอาชนะกองทัพพม่าที่บุกเข้ามาโจมตี เมืองพิชัย ได้ 

พระปรางค์บรรจุอัฐิ พระยาพิชัย ดาบหัก ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร
จนมาถึงปีพุทธศักราช 2325 ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจาก กรุงธนบุรี สู่ กรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลัง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นั้นได้ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งได้ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีตำนานระบุเอาไว้ว่า ได้มีการเรียกตัว พระยาพิชัยดาบหัก มาเข้าเฝ้าและขอให้รับราชการในแผ่นดินใหม่แต่ตัว พระยาพิชัยดาบหัก นั้นได้ถือคติข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย ไม่ใช่คนดี หรือข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย มิดี

พระปรางค์บรรจุอัฐิ พระยาพิชัย ดาบหัก ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร
จึงได้ขอให้ รัชกาลที่ 1 สำเร็จโทษตน เพื่อถวายชีวิตเป็นราชพลี ตายตาม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ข้อมูลที่สืบค้นได้นั้นได้ระบุว่าภายหลังที่ พระยาพิชัยดาบหัก ได้ถูกสำเร็จโทษแล้ว รัชกาลที่ 1 ได้ทรงมีรับสั่งให้สร้างพระปรางค์อัฐิ ของ พระยาพิชัย บรรจุไว้ที่วัดราชคฤห์วรวิหา รซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่พระยาพิชัยได้ร่วมบูรณะไว้นั้นเอง.
 

 

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Youtube - https://www.youtube.com/user/KOMCHADLUEK/
Tiktok - https://www.tiktok.com/@komchadluekonline
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่   https://awards.komchadluek.net/#
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ