ไลฟ์สไตล์

ประเพณี "ตานตอด" ย่องเงียบวางของหน้าบ้าน จุดประทัดเรียก สืบทอดมากว่า 100 ปี

ประเพณี "ตานตอด" ย่องเงียบวางของหน้าบ้าน จุดประทัดเรียก สืบทอดมากว่า 100 ปี

01 ต.ค. 2567

วัฒนธรรม - ประเพณี "ตานตอด" สุดแปลก ประเพณีโบราณ สืบทอดนาน 100 ปี ย่องเงียบวางของหน้าบ้าน จุดประทัดเรียกรับของช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระครูใบฎิกาเฉลิมพล อริยวังโสเจ้าอาวาสวัดสุวรรณคูหา ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ได้ร่วมกับนายประพันธ์ เทียนวิหาร ประธานสภาเกษตรจังหวัดพะเยาและชาวบ้าน สืบสานประเพณี "ตานตอด" ที่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา แต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน กว่าร้อยปี 

 

ประเพณี "ตานตอด" เป็นการร่วมกันรวบรวมข้าวของ เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากที่ขาดคนดูแล ซึ่งพีธีตานตอดจะมีเฉพาะทางภาคเหนือเท่านั้น และในปัจจุบันการตานตอดไม่ค่อยเห็นแล้ว ทางวัดสุวรรคูหาจึงร่วมกับคณะศรัทธาอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามและเป็นการช่วยเหลือ กันเพื่อไม่ให้สูญหายไปจากประเพณีของชาวล้านนา 

 

พระครูใบฎิกาเฉลิมพล อริยวังโส เจ้าอาวาสวัดสุวรรณคูหา เล่าว่า ได้ร่วมกับคณะศรัทธาจัดประชุมชาวบ้านสำรวจว่าบุคคลใดในหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สมควรได้รับความช่วยเหลือ และนัดหมายเวลารวมตัวกันไปทำพิธีตานตอด ณ บ้านของคนที่ต้องการจะช่วยเหลือ 

 

ประเพณี \"ตานตอด\" ย่องเงียบวางของหน้าบ้าน จุดประทัดเรียก สืบทอดมากว่า 100 ปี

นอกจากนี้จะ รวบรวมสิ่งของให้ครบทั้งเครื่องอุปโภค และบริโภค ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อาทิ ข้าวสารอาหารแห้ง ปลากระป๋อง พริกแห้ง กะปิ น้ำปลา  น้ำมันพืช ขนม นม  สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก รองเท้า เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ จัดทำกันแบบเงียบ ๆ รู้กันเฉพาะกลุ่มที่จะทำบุญเท่านั้น

 

ประเพณี \"ตานตอด\" ย่องเงียบวางของหน้าบ้าน จุดประทัดเรียก สืบทอดมากว่า 100 ปี

สำหรับการตานตอดจะทำในเวลากลางคืน เมื่อชาวบ้านมารวมตัวกันก็จะนำสิ่งของทั้งหมดที่จะตานตอด พากันเดินทางไปยังบ้านชาวบ้านที่ถูกเลือกเงียบ ๆ แล้วนำเอาของทั้งหมดไปวางไว้บริเวณหน้าบ้าน แล้วก็จุดประทัด เพื่อให้เจ้าของบ้านตกใจตื่นออกมารับไว้แล้วให้พร ซึ่งประเพณีตานตอดเป็นประเพณีล้านนาที่ทำสืบทอดกันมายาวนานกว่าร้อยปี