Lifestyle

"ศรียะลา บาติก" จากลายฉลุ สู่ผ้าทำมือลายโบราณ "ปลางิง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผ้าเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ความสำคัญของผ้ามีมากกว่าการเป็นเพียงเครื่องนุ่งห่ม เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงฐานะของผู้คนในสังคม เป็นเครื่องบรรณการอันมีค่าทางการเมือง และยังเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะผ้าลวดลายโบราณ ที่เรียกไ

 ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ “ปิยะ สุวรรณพฤกษ์”  เจ้าของแบรนด์ “ศรียะ ลาบาติก”  อ.เมือง จ.ยะลา นำมาเป็นไอเดียในการต่อยอดผลงานเพื่อสร้างสรรค์ลายผ้าโบราณที่ทรงคุณค่าให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

 ปิยะ เล่าว่า ด้วยความชอบในงานศิลป์บวกกับเป็นคนพื้นเพ จ.ยะลา จึงเสาะแสวงหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำไปออกแบบเป็นลวดลายของผ้าบาติกที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร กระทั่งมีโอกาสได้ไปตามมัสยิดและสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆ แห่งในพื้นที่ จึงได้สังเกตเห็นลวดลายต่างๆ ที่ถูกแกะสลักอย่างสวยงามทั้งตามช่องหน้าต่าง ช่องลม รวมถึงลายฉลุข้างราวบันได จึงนำมาเป็นไอเดียออกแบบลวดลายบนผืนผ้า

 เมื่อศึกษาที่มาของลวดลายต่างๆ ก็พบว่าเมื่อครั้งอดีตเคยนำเอามาใช้ในการทำผ้ามาแล้วเช่นกัน ซึ่งกลุ่มชาวบ้านเรียกติดปากว่าลายผ้า "ปลางิง" หรือ "ผ้าปลางิง จวนตานี" กระทั่งกาลเวลาผ่านไปลวดลายต่างๆ ก็เลือนหายไปจากสังคม

 "วัฒนธรรมการใช้ผ้าของชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีหลากหลายวัฒนธรรมผสมผสานกัน ทั้งวัฒนธรรมทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน ทำให้ในพื้นที่มีผ้าหลายประเภทเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคือลายปลางิง ดังนั้นการนำลายนี้มาต่อยอดอีกครั้ง ภายใต้แบรนด์ "ศรียะลา บาติก" เท่ากับเป็นจุดเริ่มต้นในการสืบสานวัฒนธรรมในพื้นที่" ปิยะ กล่าว

 ปัจจุบันผ้าปลางิงของ "ศรียะลา บาติก" ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ด้วยจุดเด่นที่เป็นลวดลายโบราณแล้วยังมีจุดขายนั่นคือการแกะบล็อกพิมพ์โดยใช้บล็อกไม้พร้อมกับการกดพิมพ์ด้วยมือทุกชิ้นงาน ทำให้ลวดลายที่ออกมาชัดเจน อ่อนช้อย สัมผัสได้ถึงความนุ่มนวลของลายผ้า แตกต่างจากบล็อกที่กดพิมพ์ด้วยเครื่องจักรที่ลวดลายดูแข็งกระด้าง ทำให้มั่นใจได้ว่าชิ้นงานที่ผลิตออกมาแต่ละชิ้นอาจเรียกได้ว่ามีเพียงชิ้นเดียวในโลก

 ปิยะ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีการนำชิ้นงานมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าประเภทต่างๆ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมผม ผ้าคาดเอว ผ้าพันคอ ผ้านุ่ง และผ้าคลุมไหล่ ในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของท้องตลาด ทว่าในส่วนของรูปแบบอาจไม่ต่างนักจากเสื้อผ้ากลุ่มบาติก แต่จุดสำคัญอยู่ที่ลวดลายโบราณที่สามารถสร้างแบรนด์สินค้าและเพิ่มมูลค่าได้เป็นอย่างดี

 "สินค้าส่วนใหญ่จะทำมือเกือบทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยงามและมีคุณค่าสมกับนำลวดลายโบราณมาประยุกต์ใช้ การบริหารจัดการเราจึงไม่เน้นชิ้นงานมาก แต่จะให้ความสำคัญกับผ้าทุกผืนที่ผลิตออกมาต้องมีคุณภาพ และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า" ปิยะกล่าว พร้อมยอมรับว่า ออเดอร์ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

 ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปิยะ สร้างสรรค์ผลงานให้แบรนด์ "ศรียะลา บาติก" ออกมากว่า 200 แบบจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทำให้วันนี้เขาอยากหาผู้ร่วมเครือข่ายอนุรักษ์ลายผ้าและผลิตผ้าแบบฉบับโบราณ ประกอบกับอยากมีส่วนร่วมช่วยสังคมจึงเกิดไอเดียจะเข้าไปฝึกสอนทำผ้าบาติกให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ เพื่อเป็นอีกหนึ่งสาขาในการประกอบอาชีพให้ผู้ต้องขังในวันพ้นโทษ ให้ใช้ชีวิตในสังคมโดยมีอาชีพติดตัวอีกด้วย

 สำหรับผู้สนใจอยากเป็นเจ้าของชิ้นงานผ้าลวดลายโบราณที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ติดต่อที่กลุ่มศรียะลา บาติก โทร.08-4165-2312

"สุพิชฌาย์ รัตนะ"

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ