ไลฟ์สไตล์

"โรคหัวใจ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

03 ธ.ค. 2553

สถานการณ์ของโรคหัวใจในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติพบว่า โรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง แถมผู้ป่วยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยลงด้วย

 อันที่จริง "โรคหัวใจ" ไม่ใช่ชื่อโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมๆ หมายถึง โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในบรรดาโรคหัวใจทั้งหมด "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง
 ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติเลยก็ได้ ถ้าโรคหัวใจนั้นยังไม่รุนแรงหรือเพิ่งเป็นในระยะแรก ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
 -   เป็นโรคเบาหวาน
 -   เป็นโรคความดันโลหิตสูง
 -   มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
 -   สูบบุหรี่จัด
 -   มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
 -   หากมีอาการเตือนของโรคหัวใจ อาทิ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบเหนื่อยผิดปกติเวลาออกแรง นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก ฯลฯ

การรักษาโรคหัวใจ
 มีหลายวิธีขึ้นกับปัญหาของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาทิ
 - การรักษาทางยา
 - การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและขดลวด กรณีเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
 - การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร  (Pacemaker)
 - การผ่าตัดฝังเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ
 - การผ่าตัดหัวใจ  (Cardiac Surgery)

การดูแลอย่างต่อเนื่อง
 ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องได้รับการดูแลภายหลังรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แพทย์จะนัดพบผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการรักษา ดูแลเรื่องการให้ยา หรือให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่างๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี แนะนำโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นต้น
 หรับโรคหัวใจ...พรุ่งนี้อาจสายเกิน หากท่านสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ  ปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีความพร้อมในด้านทีมแพทย์และบุคลากร ตลอดจนอุปกรณ์-เครื่องมือที่จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลยันฮี