
เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์-สมองกับความทรงจำ
โอ๊ย!! ถูกเพื่อนลืมวันเกิดเนี่ยมันน่าเศร้าจริงๆ เลยว่าหรือเปล่าคะน้องๆ ว่าแต่น้องๆ ของ พี่ฮัมมิ่งเบิร์ด ขี้หลงขี้ลืมเหมือนพี่หรือเปล่านะ แล้วสมองที่เก็บความทรงจำของเรา ทำไมบางคนถึงความจำดีๆ บางคนถึงจำอะไรไม่ได้ สัปดาห์นี้ พี่มีคำตอบมาคะ
จากหนังสือสารานุกรมความรู้วิทยาศาสตร์ Why? ของบริษัทนานมีบุ๊ค จำกัด อธิบายว่า ความทรงจำถูกเก็บไว้ในฮิปโปแคมปัส หรือส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ แต่อาการหลงลืมไม่เกี่ยวกับฮิปโปแคมปัส เพราะฮิปโปแคมปัสจะควบคุมความทรงจำส่วนที่เกิดขึ้นใหม่ ส่วนความทรงจำในระยะยาวจะเก็บไว้ที่เซรีบรัลคอร์เทกซ์ เป็นส่วนหนึ่งของเทเลนเซฟาลอน สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ในการพูดและภาษา
ส่วนที่สั่งการเกี่ยวกับภาษาได้แก่ บริเวณโบรคา (Broca's area) ภายในสมองกลีบหน้าของสมอง การเข้าใจคำพูดเกี่ยวข้องกับบริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบข้าง บริเวณทั้งสองเชื่อมต่อกันด้วยลำเส้นใยประสาทขนาดใหญ่ เรียกว่า อาร์คูเอท ฟาสซิคูลัส (arcuate fasciculus) การเสื่อมของบริเวณโบรคาจะทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความชนิด expressive aphasia (non-fluent aphasia) ในขณะที่การเสื่อมในบริเวณเวอร์นิเกส่งผลให้เกิดภาวะเสียการสื่อความชนิด receptive aphasia (fluent aphasia) ถ้ากระตุ้นส่วนนี้ ความทรงจำในอดีตจะฟื้นขึ้นมา ความทรงจำใหม่จะย้ายไปซีรีบรัลคอกเทกซ์ภายหลัง
ความทรงจำมีสองชนิด คือ ความจำระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งระยะสั้นจะจำสิ่งที่เพิ่งเกิดใหม่ จำได้เพียงหลายๆ นาที แต่ถ้าระยะยาวจะจำไปได้นานๆ ซึ่งขั้นตอนการเก็บความจำระยะยาวของสมองจะรับข้อมูลผ่านทางอวัยวะรับความรู้สึก ใส่และเก็บข้อมูล เมื่อเจอข้อมูลที่เหมือนกันความจำในอดีตจะฟื้นกลับมา
ส่วนสารพัดวิธีช่วยจำ น้องๆ สามารถทำได้ง่ายมาก เพียงแต่ต้องมีสมาธิ เพื่อให้สมองเตรียมความพร้อม อ่านออกเสียงและจดบนกระดาษเพื่อให้เกิดการคิดแบบเชื่อมโยง จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น หรืออ่านสิ่งที่สนุก จะทำให้จำได้ดี เพราะเซลล์ประสาทส่งผ่านข้อมูลอย่างลื่นไหล การจำควรมีการหยุดพัก เพื่อให้มีช่วงเวลาที่เซลล์สมองจะได้จัดการกับข้อมูล หลังจากจำแล้วต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนอาหารที่มีผลต่อความจำดี คือ อาหารจำพวกมีโคลีน สารอาหารที่สร้างแอซีติลโคลีน สารสื่อประสาทที่ช่วยให้จำดี ได้แก่ เต้าหู้ ถั่ว แล้วก็ไข่
พี่ฮัมมิ่งเบิร์ด:[email protected]